Page 30 - kpiebook62010
P. 30
23
ไม่มีเจตจำนงในการเลือกที่จะใช้สิทธิ และสัตว์ขาดความสามารถในการเรียกร้องให้ผู้อื่นมีหน้าที่ต้องเคารพสิทธิ
ของตน
อย่างไรก็ตาม วิธีคิดที่ว่าผู้ที่จะมีสิทธิได้จะต้องมีความสามารถในการเลือก การใช้ หรือการ
เรียกร้องสิทธิ ก็อาจถูกโต้แย้งได้ว่า ถ้าเช่นนั้นแล้ว เด็กเล็กๆ หรือบุคคลที่มีข้อจำกัดด้านสติปัญญาหรือเป็น
ผู้ไร้ความสามารถที่มีความไม่สมบูรณ์ด้านความรู้คิดก็จะเป็นผู้ไม่มีสิทธิกระนั้นหรือ ซึ่งเราสามารถตอบได้ว่า
ไม่มีทางเป็นเช่นนั้น เพราะในกรณีของเด็กหรือผู้ไร้ความสามารถนั้น จะต้องมีผู้แทนอันได้แก่บิดามารดาผู้ปกครอง
หรือผู้พิทักษ์ดูแล เป็นผู้ใช้สิทธิแทนเด็กหรือบุคคลผู้ไร้ความสามารถนั้น เช่นนี้หากเรายอมรับว่าหากผู้ทรงสิทธิ
ไม่สามารถใช้สิทธิของตนได้เอง แต่ก็ยังมีความชอบธรรมที่จะมีผู้ใช้สิทธิแทนได้แล้ว กรณีของสัตว์ซึ่งไม่อาจใช้สิทธิ
ได้ด้วยตนเองก็ชอบที่จะมีผู้ดูแลพิทักษ์อันได้แก่มนุษย์มาใช้สิทธิเช่นนั้นแทน เพื่อประโยชน์ของสัตว์อันมีกฎหมาย
รับรองคุ้มครองให้ได้หรือไม่
แต่หากพิจารณาในแง่มุมของเสรีภาพนั้น กลับพบว่ามีความลงตัวในทางความคิดมากกว่า เพราะ
เสรีภาพนั้น คือประโยชน์ในลักษณะที่ผู้ทรงเสรีภาพจะกระทำการใดๆ โดยไม่ถูกบังคับหรืออยู่ภายใต้อาณัติ
อันเป็นสิ่งที่ไม่ต้องเรียกร้อง หรือดำเนินการเพื่อใช้ แต่เสรีภาพนั้นจะส่งผลให้ผู้ทรงเสรีภาพนั้นปลอดจากการถูก
บังคับให้กระทำหรือไม่กระทำการอยู่แล้ว ตลอดเวลาที่ยังมีเสรีภาพนั้นคุ้มครองอยู่ เมื่อเสรีภาพนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่
และคุ้มครองผู้ทรงเสรีภาพได้โดยไม่คำนึงว่าผู้นั้นจะเรียกร้องหรือมีความสามารถในการเรียกร้องหรือไม่ การที่
มนุษย์นั้นให้เสรีภาพต่อสัตว์ ทำให้สัตว์ได้รับการคุ้มครองบางประการในการที่จะมีชีวิตอยู่โดยดีมีอิสระและได้รับ
การจัดสวัสดิภาพให้ตามกฎหมาย จึงดูจะมีเหตุมีผลมากกว่าการพิจารณาว่าสัตว์เป็นผู้ทรงสิทธิที่ไม่อาจใช้สิทธิได้
ด้วยตนเอง
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากแนวคิดและปรัชญาที่มาของสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์ อาจจะ
พิจารณาได้ว่า การที่มนุษย์มีสิทธิเสรีภาพนั้น ก็เพราะมนุษย์ด้วยกันเองสละสิทธิเสรีภาพรวมไว้ในรูปแบบของ
สัญญาประชาคม ซึ่งหากพิจารณาตามแนวคิดนี้แล้ว สัตว์ก็ไม่อาจมีสิทธิหรือเสรีภาพไปได้เพราะสัตว์ไม่มีส่วนใน
สัญญาประชาคมของมนุษย์ เสรีภาพหรือสิทธิของสัตว์หากจะมี ก็จะเป็นสิ่งที่มนุษย์นั้นยอม “แบ่ง” ส่วนของสิทธิ
เสรีภาพลงไปให้รับรองคุ้มครองถึงสัตว์ที่โดยสภาพนั้นไม่ได้รู้ถึงสิทธิและเสรีภาพนั้นด้วยซ้ำ
การที่มนุษย์เรายอมมอบส่วนของสิทธิหรือเสรีภาพในลักษณะใดลักษณะหนึ่งแก่สัตว์ ทั้งที่
ไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นก็ได้ จึงหลีกหนีเหตุผลเชิงศีลธรรมหรือจริยธรรมไปได้ไม่พ้น ว่าที่แท้แล้วการที่มนุษย์เรา
เคารพในสิทธิหรือเสรีภาพ รวมถึงการจัดสวัสดิภาพให้สัตว์นั้น ก็เป็นเหตุผลว่ามนุษย์ได้กระทำไปเพื่อตอบสนอง
ความต้องการเชิงจริยธรรม หรือกล่าวง่ายๆ คือไปเพื่อความรู้สึกสบายใจของมนุษย์เอง โดยการที่มนุษย์ด้วยกันเห็น
สัตว์ถูกทารุณกรรมหรือละเมิดสวัสดิภาพนั้น ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ดี หรือความเวทนาสงสาร การที่มนุษย์เรา
รับรองเสรีภาพของสัตว์ หรือมองว่าสัตว์นั้นมีสิทธิที่มนุษย์ไม่ควรล่วงละเมิด รวมถึงควรจะจัดสวัสดิภาพให้นั้น
ก็เป็นการตอบสนองความรู้สึกดีต่อจิตใจของมนุษย์นั่นเองที่จะไม่ต้องพบเห็นสภาพอันอาจจะทำให้เกิดความ
เวทนาทางใจ หรือเกิดความรู้สึกอิ่มเอมในจิตใจเมื่อเห็นว่าสัตว์ที่เป็นเพื่อนร่วมโลกได้รับการปฏิบัติที่ดี และ
เชื่อว่าการปฏิบัติต่อสัตว์อย่างดีนั้นจะนำมาซึ่งความเป็นอารยะและยกระดับจิตใจของมนุษย์
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557