Page 35 - kpiebook62010
P. 35
28
กรุงมะนิลาเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2003 ซึ่งเข้าร่วมโดยคณะผู้แทนรัฐบาล 21 คณะจาก 19 ประเทศ โดยในการ
ประชุมคราวนี้ได้มีการปรับปรุงร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสวัสดิภาพสัตว์ขึ้นมาใหม่ โดยนำเอาหลักการเรื่องของ
เสรีภาพทั้งห้าของสัตว์ ที่ได้แก่ เสรีภาพจากความหิว กระหาย เสรีภาพจากความเป็นอยู่ที่ไม่เหมาะสม เสรีภาพ
จากความเจ็บปวด การบาดเจ็บ หรือเป็นโรค เสรีภาพจากความกลัวและความทุกข์ทรมาน และเสรีภาพในการ
แสดงพฤติกรรมตามปกติของสัตว์ และหลักการ “สาม R” ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่
การลด (Reduction) จำนวนสัตว์ที่นำมาทดลอง การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำการทดลองในสัตว์ให้ดีขึ้น
(Refinement) และการทดแทน (Replacement) การทดลองในสัตว์ด้วยวิธีการทดลองแบบอื่น
หลังจากนั้น มีการประชุมของชาติที่เป็นคณะกรรมการขับเคลื่อน (Steering Committee) ทั้ง
ห้าประเทศ ได้แก่ เคนยา อินเดีย คอสตาริกา สาธารณรัฐเชค และฟิลิปปินส์ อีกครั้งเมื่อวันที่ 24-25 พฤศจิกายน
ค.ศ. 2005 ที่กรุงซาน โฆเซ่ (San Jose) ประเทศคอสตาริกา ในการประชุมคราวนี้ได้มีการยกร่างตัวคำประกาศ
และภาคผนวกที่ 1 ขึ้น โดยมีสมาคมระดับโลกเพื่อการคุ้มครองสัตว์ (WSPA) ทำหน้าที่เสมือนเป็นเลขาธิการของ
คณะกรรมการขับเคลื่อนดังกล่าว โดยทางคณะกรรมการมีความคาดหวังว่าร่างปฏิญญานี้จะได้รับการรับรองจาก
ที่ประชุมใหญ่แห่งสหประชาชาติ และประกาศเป็นความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้ได้ใน
3
ที่สุด โดยร่างปฏิญญามีการแก้ไขเพิ่มเติมฉบับล่าสุดในปี ค.ศ. 2011 ซึ่งอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นของ
ประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติ องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กร NGO 4
3.2 อนุสัญญาระดับสหภาพยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์
อนุสัญญาระดับสหภาพยุโรป ถือเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองสัตว์ที่มีผลใช้บังคับกับ
ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป โดยมีอนุสัญญาสำคัญๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการขนส่งสัตว์ระหว่างประเทศ
การคุ้มครองสัตว์ที่ถูกเลี้ยงไว้ในระบบปศุสัตว์ การฆ่าสัตว์ การทำการทดลองในสัตว์ และที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง ดังนี้
3.2.1 อนุสัญญาแห่งสหภาพยุโรปเพื่อคุ้มครองสัตว์ระหว่างการขนส่งระหว่างประเทศ
(European Convention for the Protection of Animals during International Transport)
อนุสัญญาฉบับนี้เป็นไปเพื่อการกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการจัดพื้นที่ การระบายอากาศ
สุขอนามัย วิธีการขนส่ง อาหารและน้ำดื่ม การนำสัตว์ขึ้นลงและการช่วยเหลือของสัตว์แพทย์ในการขนส่งระหว่าง
ประเทศ ซึ่งอนุสัญญาฉบับนี้ได้มีการยกร่างขึ้นใหม่ (Revise) ในปี ค.ศ. 2003 โดยประมวลประสบการณ์การใช้
5
3 Miah Gibson. The Universal Declaration on Animal Welfare. Deakin law review (Volume 16 No 2).
สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2560, สืบค้นจาก : http://www.ignaciodarnaude.com/espiritualismo/Universal%20Declaration%
20of%20Animal%20Welfare,Miah%20Gibson.pdf
4 Project Gobal Animal Law. Draft Declaration on Animal welfare at universal level UDAW Proposal.
สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2560, สืบค้นจาก : https://www.globalanimallaw.org/database/universal.html
5 Council of Europe. European Convention for the Protection of Animals during International
Transport. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2560, สืบค้นจาก : https://www.coe.int/en/web/conventions/full-list/-/conventions/
treaty/065
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557