Page 40 - kpiebook62010
P. 40

33






                     
   
   
     หมวดที่ 9 การห้ามนำเข้า การเคลื่อนย้าย การเก็บรักษา กำหนดให้การนำเข้า

               เคลื่อนย้าย เก็บรักษาสัตว์ อันมีสัญญาณแสดงว่าเกิดอันตราย ซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากการกระทำอันละเมิดต่อ
               สวัสดิภาพของสัตว์จะกระทำไม่ได้ รายละเอียดวิธีการต่างๆ สำหรับกรณีนี้จะได้มีการกำหนดในพระราชกฤษฎีกา
               รวมถึงในเรื่องการเคลื่อนย้ายแหล่งกำเนิดสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์ของสัตว์จากประเทศซึ่งไม่ใช่ประชาคมเศรษฐกิจ

               ยุโรป (EEC) เข้ามายังในเขตแดนรัฐ  การนำเข้าหรือห้ามนำเข้าสัตว์บางชนิด การเคลื่อนย้ายสัตว์มีกระดูกสันหลัง
               เข้าประเทศหากมีกระบวนการอันเป็นการละเมิดสวัสดิภาพของสัตว์ เป็นต้น


                     
   
   
     หมวดที่ 10 บทบัญญัติอื่นเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ ได้แก่การกำหนดห้ามใช้อุปกรณ์
               หรือสารใดๆ ต่อสัตว์มีกระดูกสันหลังเพื่อจับ เพื่อให้ไป หรือเพื่อให้กลัว หากปรากฏว่าอาจก่อให้เกิดอันตราย
               เจ็บปวดทรมาน อย่างไรก็ตามการใช้เครื่องมือเช่นว่านั้นอาจทำได้หากเป็นกรณีที่มีการอนุญาตตามกฎหมายอื่น

               รวมถึงเรื่องของการล่าสัตว์

                     
   
   
 
   หมวดที่ 11 การบังคับใช้รัฐบัญญัติ ในหมวดนี้จะเป็นการกำหนดหน้าที่ของหน่วยงาน

               ต่างๆ ให้เป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติให้เป็นไปตามรัฐบัญญัติฉบับนี้


                     
   
   
 
   หมวดที่ 12 บทกำหนดโทษ ในหมวดนี้มีการกำหนดโทษทางอาญา และโทษทาง
               ปกครอง ตลอดจนค่าปรับต่างๆ


                     
   
   
 
 
 หมวดที่ 13 บทเฉพาะกาล กำหนดถึงเวลาที่กฎหมายมีผลบังคับสำหรับบางการกระทำ
               และกล่าวถึงการแก้ไขรัฐบัญญัตินี้


                     
   
   3.3.1.2  สัตว์ที่กฎหมายคุ้มครอง

                                   ในรัฐบัญญัติว่าด้วยสวัสดิภาพของสัตว์แห่งสหพันธรัฐเยอรมันไม่มีบทนิยามของคำว่า

               “สัตว์” ระบุไว้ มีเพียงการจำแนกสัตว์ออกเป็นประเภท ได้แก่ สัตว์ (animals) สัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrates)
               สัตว์เลือดอุ่น (warm-blooded animals) ปลา (fish) สัตว์เลือดเย็น (cold-blooded animals) สัตว์ปีก
               (poultry) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (amphibians) สัตว์เลื้อยคลาน (reptiles) ปลาหมึก (cephalopods) และสัตว์

               ซึ่งอยู่ในฟาร์ม (farm animals)


                                   การจำแนกประเภทสัตว์ที่กล่าวมานั้นจะจำแนกตามการกระทำ เช่น หากเป็น
               บทบัญญัติว่าด้วยการเลี้ยงสัตว์จะไม่มีการแยกเป็นประเภทของสัตว์ แต่จะกำหนดวิธีการเลี้ยงสัตว์ หรือข้อห้าม
               กระทำต่อสัตว์โดยรวม (animals) แต่หากเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการฆ่าสัตว์ หรือการผ่าตัดสัตว์ จะมีการแยก
               ประเภทสัตว์เป็นการฆ่าสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrates) การฆ่าสัตว์ที่มีเลือดอุ่น (warm-blooded animals)

               ออกจากกัน เพื่อกำหนดวิธีการฆ่าหรือวิธีการผ่าตัดที่แตกต่างกันออกไป

                                   นอกจากนี้ในบทบัญญัติบางมาตราก็ได้มีการกำหนดวิธีการเฉพาะสำหรับสัตว์โดย

               แบ่งเป็นประเภทย่อย เช่น การกำหนดให้ผู้เพาะพันธุ์สุนัข แมว ลิง หรือลีเมอร์ เพื่อจำหน่าย ต้องให้สัตว์เหล่านั้น
               หย่านมเสียก่อน  หรือการกำหนดให้การตัดหางสุกรอายุไม่เกินสี่วันไม่จำเป็นต้องให้ยาชา เป็นต้น









                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45