Page 39 - kpiebook62010
P. 39

32






                     
   
   
 
   หมวดที่ 5 การทดลองในสัตว์ กำหนดหลักการทดลองในสัตว์ซึ่งหมายความรวมถึง

               การผ่าตัด การรักษาเพื่อวัตถุประสงค์ในการทดลองกับสัตว์ซึ่งอาจก่อให้สัตว์ใดๆ เกิดความเจ็บปวด ทรมาน ได้รับ
               อันตราย หรือการทดลองพันธุกรรมสัตว์ซึ่งอาจเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกลไกทางพันธุกรรมการทดลอง
               ในสัตว์อาจกระทำได้เมื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการวิจัยทั่วไป เพื่อควบคุม วินิจฉัย หรือรักษาโรค เพื่อป้องกัน

               อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หรือเพื่อเป็นการทดสอบความปลอดภัยต่อสุขภาพมนุษย์หรือสัตว์ โดยการทดลอง
               จะต้องการทำโดยมีมนุษยธรรม ทั้งนี้ การทดลองที่จะก่อให้เกิดความเจ็บปวด ทรมาน อย่างรุนแรง ต่อเนื่อง ซ้ำๆ
               จะกระทำได้เฉพาะในกรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อความต้องการพื้นฐานของมนุษย์และสัตว์ หรือเพื่อแก้ไข

               ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การทดลองในสัตว์เพื่อการพัฒนาหรือทดสอบอาวุธ เพื่อพัฒนายาสูบ ผลิตภัณฑ์ทำความ
               สะอาด หรือเครื่องสำอางนั้นไม่สามารถกระทำได้ เว้นแต่เป็นกรณีความตกลงกับกระทรวงสาธารณสุขที่จำเป็นต่อ
               การป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ และไม่มีวิธีอื่นอันอาจหลีกเลี่ยงได้  หรือเป็นไปตามกฎของประชาคมยุโรป ทั้งนี้

               การทดลองในสัตว์จะต้องกระทำโดยจำกัดจำนวนให้น้อยที่สุด และต้องทำตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับสัตว์แต่ละ
               ประเภท โดยต้องมีการจัดทำบันทึกเกี่ยวกับการทดลองสัตว์ทั้งหมดโดยจัดเก็บไว้สามปีหลังจากที่การทดลองสิ้นสุด
               สำหรับให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจได้ทำการตรวจสอบ


                     
   
         หมวดที่ 6 การผ่าตัด และการรักษาเพื่อประโยชน์ในการศึกษา การฝึกอบรม และ
               การฝึกอบรมเพิ่มเติม กำหนดเรื่องของการผ่าตัด และการรักษาอันเป็นเหตุให้สัตว์ต้องได้รับความเจ็บปวดทรมาน

               อาจทำได้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา การฝึกอบรม และการฝึกอบรมเพิ่มเติมในมหาวิทยาลัย ศูนย์วิทยาศาสตร์
               หรือโรงพยาบาล หรือวิทยาลัยอาชีวะ การฝึกอบรมทางการแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์ สามารถทำได้เมื่อไม่มีทางอื่น
               ที่จะกระทำและให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการทดลองในสัตว์มาบังคับใช้โดยอนุโลมด้วย โดยให้หัวหน้าของหน่วยงาน

               การศึกษานั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎหมาย


                     
   
   
 
   หมวดที่ 7 การผ่าตัด และการรักษาเพื่อการผลิต การเก็บรักษา และการขยายพันธุ์
               ของสาร ผลิตภัณฑ์ หรือสิ่งมีชีวิต กำหนดหลักเกณฑ์ในการผ่าตัด หรือการรักษาที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด
               ทรมาน หรือเป็นอันตราย อาจทำต่อสัตว์มีกระดูกสันหลังเพื่อการผลิต การเก็บรักษา และการขยายพันธุ์ของ
               สาร ผลิตภัณฑ์ หรือสิ่งมีชีวิตได้หากเป็นไปตามเงื่อนไขว่าด้วยการทดลองในสัตว์บุคคลซึ่งจะทำการเช่นว่านั้น

               ต้องแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองอาทิตย์ก่อนลงมือกระทำ และให้นำบทบัญญัติว่าด้วย
               การทดลองในสัตว์มาบังคับใช้โดยอนุโลมด้วย


                     
   
         หมวดที่ 8 การขยายพันธ์สัตว์การเลี้ยงสัตว์ และการค้าสัตว์ กำหนดเกี่ยวกับการจัด
               สวัสดิภาพสัตว์สำหรับผู้ที่ประสงค์จะเลี้ยงหรือดูแลสัตว์ ในสวนสัตว์หรือที่จัดแสดง การรับฝึกสุนัข การดำเนินธุรกิจ

               การค้าสัตว์ ผู้ซึ่งเลี้ยงหรือดูแลรักษาสัตว์ในทางการค้า เช่นการเพาะพันธุ์สัตว์ที่ไม่ใช่การทำฟาร์มสัตว์ การค้าขาย
               แลกเปลี่ยนสัตว์  การใช้สัตว์เพื่อการวิ่ง การขี่สัตว์ หรือใช้สัตว์บรรทุก จะต้องมีการยื่นขออนุญาตโดยระบุถึง
               ชนิดของสัตว์ ผู้รับผิดชอบ ผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะอนุญาตต่อเมื่อเห็นว่าผู้ขอมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ
               ความสามารถที่จะกระทำได้ มีการจัดสถานที่ อาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกอันเหมาะสมแก่สัตว์ และ

               เจ้าหน้าที่อาจกำหนดข้อกำหนดเพิ่มเติมเพื่อสวัสดิภาพของสัตว์ได้ เช่น การห้ามใช้สัตว์เพื่อขอทานเป็นต้น
               นอกจากนี้ยังมีการห้ามจัดหาสัตว์มีกระดูกสันหลังให้แก่เด็ก หรือผู้เยาว์ซึ่งมีอายุไม่เกิน 16 ปี โดยปราศจาก
               ความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมอีกด้วย







                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44