Page 69 - kpiebook62010
P. 69

62






               ที่เห็นสมควรเป็นผู้ครอบครองหรือดูแลสัตว์นั้นต่อไปรวมถึงกำหนดโทษต่อผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้

               ในมาตรา 34ส่วนมาตรา 35 เป็นการกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินการกับกรณีความผิดที่มีแต่โทษปรับเพียง
               อย่างเดียว


                     
       หมวด 9 บทเฉพาะกาล มาตรา 36 กำหนดให้ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการประกอบด้วย
               กรรมการโดยตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในหนึ่งร้อย

               แปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

                     4.3.2  สัตว์ที่กฎหมายคุ้มครอง

                             บทนิยามศัพท์มาตรา 3 กำหนดขอบเขตของสัตว์ที่กฎหมายฉบับนี้คุ้มครองว่า หมายถึง “สัตว์ที่

               โดยปกติเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสัตว์บ้าน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งาน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นพาหนะ สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน
               สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการแสดง หรือสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการอื่นใด  ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมี
               เจ้าของหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด”


                             ดังนั้น สัตว์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้ ได้แก่ สัตว์ปกติที่มนุษย์เลี้ยงไว้เพื่อประโยชน์

               ต่างๆ โดยไม่พิจารณาว่าสัตว์นั้นจะมีเจ้าของหรือไม่ กล่าวคือไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าสัตว์นั้นเป็นสัตว์ที่มีผู้เลี้ยง
               หรือไม่ แต่หากสัตว์นั้นเป็นสัตว์ที่ปกติแล้วมีผู้เลี้ยง สัตว์นั้นก็ได้รับความคุ้มครอง เช่น สุนัข แมว เต่า หรือปลา
               แม้จะเป็นสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ แต่ก็ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้ เพราะถือว่าเป็นสัตว์ที่ปกติมีผู้เลี้ยงไว้ ส่วนถ้า
               เป็นกรณีของสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก ที่ปกติไม่มีใครเลี้ยงไว้ เช่น จิ้งจก หรือคางคก รวมถึงสัตว์ไม่มี

               กระดูกสันหลังต่างๆ เช่นแมลง ก็อาจจะไม่ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติฉบับนี้

                             เดิมนั้นต้นร่างพระราชบัญญัตินี้ที่กรมปศุสัตว์เสนอผ่านคณะรัฐมนตรี ให้คำนิยามคำว่าสัตว์ว่า

               หมายถึง “สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังที่มิใช่มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง” โดยผู้แทน
               กรมปศุสัตว์ชี้แจงว่า หลักการของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ประสงค์จะให้มีการป้องกันการทารุณกรรมกับสัตว์

               ทุกชนิด สำหรับการจัดสวัสดิภาพสัตว์จะไปกำหนดโดยกฎกระทรวงว่าจะให้ใช้กับสัตว์ชนิดใดบ้าง

                             ในการประชุมครั้งที่ 2 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2552 ที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีควรกำหนด

               บทนิยามดังกล่าวให้กว้างโดยไปกำหนดหลักเกณฑ์และรายละอียดในเรื่องการป้องกันการทารุณกรรมและการ
               จัดสวัสดิภาพสัตว์ในกฎกระทรวง ที่ประชุมจึงมีมติให้ตัดถ้อยคำตอนท้ายที่ว่า “และสิ่งมีชีวิตอื่นตามที่กำหนดใน
               กฎกระทรวง” ออก


                             ต่อมาในการประชุมครั้งที่ 12 วันที่ 20 เมษายน 2553 เมื่อมีการพิจารณาในส่วนบทกำหนดโทษ
               อาญา ที่ประชุมมีความเห็นว่า นิยามคำว่า “สัตว์” ตามร่างพระราชบัญญัตินี้มีความหมายกว้างและอาจจะมีปัญหา

               ในการบังคับใช้ เนื่องจากคำว่า “สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังที่มิใช้มนุษย์” จะครอบคลุมทั้งสัตว์บก สัตว์ปีก และ
               สัตว์น้ำ และถ้าไม่เข้ากรณียกเว้นตามที่บัญญัติไว้ในร่างมาตรา 19 การกระทำที่ถือเป็นการทารุณกรรมต่อสัตว์
               ทุกชนิดไม่ว่าสัตว์ชนิดใดจะมีโทษตามกฎหมาย เช่น การฆ่าสัตว์ในร้านอาหารจะถือว่าเป็นการทารุณกรรมอันมีโทษ

               ตามกฎหมายนี้ เนื่องจากร่างมาตรา 19 (1) ที่ยกเว้นให้เฉพาะการฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือนเท่านั้น








                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74