Page 73 - kpiebook62010
P. 73

66






                             อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งที่ 6 วันที่ 4 ธันวาคม 2552 ที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา

               มีความเห็นว่า การกำหนดกรณีที่ถือเป็นการทารุณกรรมสัตว์ตามร่างมาตรานี้เป็นเพียงตัวอย่างหรือข้อสันนิษฐาน
               ซึ่งอาจมีบางกรณีที่ตกหล่นได้ ประกอบกับร่างมาตรา 24 ได้กำหนดหลักการทั่วไปสำหรับความหมายของ
               การทารุณกรรมสัตว์ไว้แล้ว นอกจากนี้ ฝ่ายเลขานุการได้เสนอข้อสังเกตต่อที่ประชุมว่า บทบัญญัติในบางกรณี

               เช่นตาม (6) และ (10) น่าจะเป็นเรื่องการจัดสวัสดิภาพสัตว์มากกว่าการทารุณกรรมสัตว์ ดังนั้นที่ประชุมจึงมี
               ความเห็นว่า เมื่อร่างมาตรา 24 ได้บัญญัติหลักการทั่วไปเกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์อันมีโทษตามกฎหมายไว้แล้ว
               ร่างมาตรา 25 อาจบัญญัติในลักษณะเป็นข้อยกเว้นกรณีที่ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์เช่น กรณีการป้องกัน

               อันตรายแก่บุคคลหรือสัตว์อื่น การดำเนินการบางประการที่จำเป็นอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ การกระทำเพื่อประโยชน์แก่
               ตัวสัตว์เอง เป็นต้น ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ รับไปปรับปรุงถ้อยคำตามแนวทางที่ที่ประชุม
               ได้ให้ไว้


                             โดยต่อมาได้มีการเสนอร่างมาตรา 19 ขึ้นมาใหม่ โดยบางส่วนปรับปรุงมาจากร่างหมวด 6
               ร่างมาตรา 28 และร่างมาตรา 29 ที่ว่าด้วยการฆ่าสัตว์ ให้ถือว่าการฆ่าสัตว์โดยเหตุผลต่างๆ ต่อไปนี้ เป็นการ

               กระทำที่ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ 10 ประการ ซึ่งใกล้เคียงกับที่ปรากฏในพระราชบัญญัติที่มีผลใช้บังคับ
               ในเวลาต่อมา ได้แก่


                             (1) การฆ่าเพื่อใช้เป็นอาหารในครัวเรือน

                             (2) การฆ่าสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์

                             (3) การฆ่าสัตว์เพื่อควบคุมโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์


                             (4) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่สัตว์แพทย์เห็นว่าสัตว์ป่วย พิการ หรือบาดเจ็บ และไม่สามารถเยียวยา
               หรือรักษาให้มีชีวิตอยู่รอดได้โดยปราศจากความทุกข์ทรมาน

                             (5) การฆ่าสัตว์ตามพิธีกรรมหรือความเชื่อทางศาสนา


                             (6) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์หรือ
               สัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน

                             (7) การกระทำใดๆ ต่อร่างกายสัตว์ซึ่งเข้าลักษณะของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์โดย

               ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์หรือผู้ที่ได้รับยกเว้นให้กระทำได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจาก
               สัตวแพทย์สภาตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์

                             (8) การตัด หู หาง ขน เขา และงา โดยมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์


                             (9) การจัดให้มีการต่อสู้ของสัตว์ตามประเพณีท้องถิ่น

                             (10) การอื่นใดที่มีกฎหมายกำหนดให้สามารถกระทำได้เป็นการเฉพาะ


                             ทั้งนี้ ผู้แทนกรมปศุสัตว์ขอให้เพิ่มถ้อยคำในร่างอนุมาตรา (5) ให้เพิ่มข้อยกเว้นในกรณีการฆ่าสัตว์
               ตามประเพณีท้องถิ่นลงไปด้วย เพราะในบางกรณีอาจจะมีการฆ่าสัตว์สำหรับประเพณีในบางท้องถิ่น แต่ที่ประชุม







                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78