Page 66 - kpiebook62010
P. 66
59
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงสมควรมีกฎหมายในการป้องกันการทารุณกรรมและการจัด
สวัสดิภาพสัตว์ โดยกำหนดห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใดๆ อันเป็นการทารุณกรรมต่อสัตว์ และกำหนดหน้าที่ให้
เจ้าของสัตว์ต้องส่งเสริมและดำเนินการจัดสวัสดิภาพให้แก่สัตว์”
จะเห็นว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้มีเจตนารมณ์เบื้องต้นเพื่อการคุ้มครองสัตว์โดยตรง ในฐานะของ
สิ่งมีชีวิตที่ควรได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ มิใช่เป็นเพียงทรัพย์สินหรือทรัพยากรธรรมชาติดังเช่นที่เคยเป็นตาม
กฎหมายที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการกระแสสังคมโลกที่มีการยอมรับในสิทธิของสัตว์และหลักการ
คุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ จึงถือว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นการสร้างมุมมองใหม่เกี่ยวกับสัตว์ในกฎหมายไทย
4.2.2 การยกร่างและการตราพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัด
สวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
ในปี 2547 มีการเคลื่อนไหวของภาคเอกชน นำโดยสมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์แห่ง
ประเทศไทยร่วมกับสภาทนายความในการยกร่างกฎหมายในลักษณะเดียวกันนี้ขึ้นมา และนำมาประชุมรวมเข้ากับ
ร่างของกรมปศุสัตว์ ซึ่งมีความคิดริเริ่มที่จะเสนอร่างพระราชบัญญัตินี้เช่นกันเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2550
ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ฉบับของของกรมปศุสัตว์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับความเห็นชอบตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 อนุมัติหลักการ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ซึ่งได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา
คณะที่ 7 ซึ่งได้มีการประชุมทั้งสิ้น 14 ครั้ง ระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 ถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2553
หลังจากนั้นได้รับการบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 23 แต่ยังไม่มีการพิจารณา ก็มีการ
ยุบสภาขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554
เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ ร่างพระราชบัญญัตินี้จึงได้รับการพิจารณาอีกครั้งโดยสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ 24 ในการประชุมครั้งที่ 20 (สมัยสามัญทั่วไป) เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2555 โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำ
ร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีกสามฉบับขึ้นมาพิจารณาร่วมกันไป ได้แก่ (1) ร่างพระราชบัญญัติป้องกัน
การทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์พ.ศ. .... ฉบับของนายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง (2) ร่างพระราชบัญญัติ
ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์พ.ศ. .... ฉบับของนายสวรรค์ แสงบัลลังค์ กับประชาชนผู้มีสิทธิ
เลือกตั้ง 11,510 คน และ (3) ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. ....
ฉบับของนายเจริญ คันธวงศ์ โดยที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏรได้ลงมติในวาระที่ 1 รับหลักการในร่างพระราชบัญญัติ
ทั้งสี่ฉบับรวมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรวม 36 คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างที่คณะ
รัฐมนตรีเสนอเป็นหลักในการพิจารณา 7
อย่างไรก็ตาม ในภายหลังได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรชุดดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556
ตามด้วยการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จึงได้รับความเห็นชอบอีกครั้ง
7
บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24 ปีที่ 2 ครั้งที่ 20 (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 10 ตุลาคมพ.ศ. 2555. สืบค้น
เมื่อ : เมษายน 2560 สืบค้นจาก : http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/hr24/m101055.pdf
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557