Page 64 - kpiebook62010
P. 64

57






                             ส่วนในกลุ่มที่สองนั้น เป็นกฎหมายที่รับรองความเป็นทรัพย์สินของสัตว์ โดยพระราชบัญญัติสัตว์

               พาหนะนั้น เป็นไปเพื่อกำหนดความเป็นสังหาริมทรัพย์พิเศษของสัตว์พาหนะ ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีมูลค่าสูงและเลี้ยงไว้
               เพื่อใช้งาน ได้แก่ ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา โดยให้มีการลงทะเบียนสัตว์ดังกล่าวที่เรียกว่า “ตั๋วรูปพรรณ” เพื่อ
               แสดงความเป็นเจ้าของ และกำหนดถึงวิธีการทำนิติกรรมเกี่ยวกับสัตว์พาหนะ หรือในพระราชบัญญัติบำรุงพันธุ์

               สัตว์ พ.ศ. 2509 มีเหตุผลในการตราประการหนึ่งว่า “...เนื่องจากผู้เลี้ยงสัตว์ยังนิยมตอนสัตว์ที่มีขนาดโตและ
               ลักษณะดี เพื่อใช้งานและขายได้ราคา เป็นการตรงข้ามกับความประสงค์ของทางราชการที่จะให้สงวนสัตว์ที่มี
               ขนาดโตและลักษณะดีไว้ใช้สืบพันธุ์ และตอนสัตว์ตัวที่มีขนาดเล็กและลักษณะเลวให้สูญพันธุ์ มิฉะนั้นสัตว์

               ในรุ่นต่อๆ ไปก็จะยังมีขนาดเล็กลงตามลำดับ จึงสมควรปรับปรุงพระราชบัญญัติบำรุงและรักษาพันธุ์ปศุสัตว์
               และสัตว์พาหนะ พุทธศักราช 2479 เสียใหม่ ให้รัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น...” ซึ่งเห็นชัดว่าเจตนารมณ์ของ
               พระราชบัญญัติดังกล่าวนั้นเป็นไปเพื่อการคุ้มครอง “ประโยชน์” ของรัฐ (ทางราชการ) ที่จะสงวนสัตว์ที่มีขนาดโต

               และลักษณะดีไว้ใช้สืบพันธุ์โดยแท้ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ต่อตัวสัตว์หรือเพื่อการคุ้มครองสัตว์แต่อย่างใด

                             สำหรับกฎหมายในกลุ่มที่สามนั้น แม้ว่าจะมีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันมิให้สัตว์ป่าถูกล่า ซึ่งคล้ายว่า
               เป็นกฎหมายเพื่อคุ้มครองสัตว์ แต่มุมมองของกฎหมายนั้นก็ไม่ได้คุ้มครองสัตว์ในฐานะที่มันเป็นสัตว์ แต่เป็น

               การคุ้มครองสัตว์ในฐานะของทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่ง เช่นในหลักการและเหตุผลท่อนหนึ่งของ
               พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535  มีว่า “...เนื่องจากปัจจุบันได้มีความตกลงระหว่างประเทศ
               ในการที่จะร่วมมือกันเพื่อสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าของท้องถิ่นอันเป็นทรัพยากรที่สำคัญของโลก ดังนั้น

               เพื่อปรับปรุงให้มาตรการในการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความตกลง
               ระหว่างประเทศ สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเสียใหม่...” หรือ
               พระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่น ก็มองว่ารังนกนางแอ่นหรือนกอีแอ่นนั้นเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่ง

               ที่รัฐจะจัดสรรได้โดยระบบสัมปทาน

                             จากการศึกษากฎหมายฉบับต่าง ๆ ข้างต้น อาจจะสรุปได้ว่า “สัตว์” ในกฎหมายไทยนั้นมีสถานะ
               เป็นทรัพย์สินหรือทรัพยากรธรรมชาติ กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์นั้นส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อการกำหนด

               เกี่ยวกับกรรมสิทธิและนิติกรรมสำหรับสัตว์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หรือการคุ้มครองสัตว์ในฐานะของ
               ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาเพื่อคุ้มครองสัตว์ในสถานะความเป็นสัตว์ของมัน
               โดยตรง


                             ส่วนประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการห้ามการกระทำการทารุณต่อสัตว์นั้น ก็มีความเห็น
               ว่า กฎหมายดังกล่าวนั้นไม่ได้มุ่งคุ้มครองที่ตัวสัตว์เสียทีเดียว แต่เป็นการมุ่งคุ้มครอง “ศีลธรรม” ของคนไม่ให้
               ทำร้ายสัตว์ หรือมีเมตตาต่อสัตว์เท่านั้น โดยตามหลักกฎหมายนั้นไม่ถือว่าสัตว์เป็นประธานแห่งสิทธิ แต่สิ่งที่

               กฎหมายมุ่งจะคุ้มครองนั้น ก็คือศีลธรรมของสังคม ว่าในฐานะมนุษย์นั้นควรจะมีศีลธรรมตามสมควร ไม่ควรไป
               กระทำทารุณกรรมต่อสัตว์ หรือแม้จะสามารถบริโภคสัตว์ได้ ก็ไม่ควรที่จะใช้วิธีฆ่าที่ทำให้สัตว์ได้รับความเจ็บปวด
               ทรมานโดยไม่จำเป็น หรือจะใช้สัตว์ทำการงานก็ไม่ควรใช้งานจนเกินกำลัง หรือไม่ควรใช้งานสัตว์ที่เจ็บป่วย ซึ่งเป็น

               สิ่งพึงปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีศีลธรรมตามสมควร  ซึ่งเป็นแนวคิดที่แตกต่างจากพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม
                                                  6
               และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557

               
      6   สุนทร มณีสวัสดิ์. การทารุณสัตว์. สืบค้นจาก :http://law.nida.ac.th/main/images/Film-Kittinun/Tarunsat.pdf
               สืบค้นเมื่อ





                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69