Page 65 - kpiebook62010
P. 65
58
4.2 ความเป็นมาเจตนารมณ์ และการตราพระราชบัญญัติป้องกัน
การทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
4.2.1 ความเป็นมาและเจตนารมณ์ของการตราพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม
และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
ได้รับการบันทึกไว้ในหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติ ว่า “เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึกและเป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งแวดล้อม จึงควรได้รับการคุ้มครอง
มิให้ถูกกระทำการทารุณกรรม และเจ้าของสัตว์ซึ่งนำสัตว์มาเลี้ยงจะต้องจัดสวัสดิภาพให้เหมาะสมตาม
ประเภทและชนิดของสัตว์ ทั้งในระหว่างการเลี้ยงดู การขนส่ง การนำสัตว์ไปใช้งาน หรือใช้ในการแสดง
ดังนั้น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อให้สัตว์ได้รับ
การคุ้มครองตามธรรมชาติของสัตว์อย่างเหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้”
เมื่อเราย้อนกลับไปดูความเป็นมาของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งปรากฏตามบันทึกข้อความ
ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2552 ของฝ่ายกฎหมายทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จะพบว่า
ร่างพระราชบัญญัตินี้มีที่มาจากปัญหาการจับสุนัขมาเพื่อการบริโภคในบางท้องถิ่นของประเทศไทย ประกอบกับ
กระแสโลกาภิวัตน์และหลักสากลที่มีการยอมรับในสิทธิของสัตว์มากขึ้น เป็นที่มาให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ โดยความเป็นมาตามบันทึกข้อความดังกล่าวนั้นมีว่า
“จากกรณีที่ประเทศไทยมีการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสุนัขกับถังน้ำพลาสติก โดยวิธีการ
ไล่จับด้วยการทารุณกรรม เพื่อนำส่งจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อนำไปบริโภคทั้งที่มิใช่สัตว์ที่เหมาะ
แก่การปรุงเป็นอาหาร จนเป็นเหตุให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าว นานาอารยประเทศจับตา
มอง อีกทั้งในปัจจุบันต้องยอมรับว่าสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ควรได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ ให้ปราศจากความหิว
กระหาย ขาดสารอาหาร ความเป็นป่วย และความทุกข์ทรมาน
โดยกระแสโลกาภิวัฒน์เป็นที่ยอมรับโดยสากลและโดยหลักคุณธรรมว่า สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตและ
เป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่จะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิตามธรรมชาติ และได้รับการดูแลมิให้
ถูกกระทำการทารุณกรรม หรือมีการฆ่าสัตว์โดยไม่จำเป็นโดยเจ้าของและผู้เลี้ยงสัตว์ต้องจัดสวัสดิภาพให้แก่
สัตว์ให้เหมาะสมตามชนิดและประเภทของสัตว์ อีกทั้งสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของต้องได้รับความคุ้มครองมิให้ถูกทารุณ
กรรมเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันมีการนำสัตว์มาเลี้ยง เพื่อการค้า การแสดง เป็นต้น การประกอบกิจการดังกล่าว
ต้องคำนึงถึงการจัดสวัสดิภาพและการป้องกันมิให้สัตว์ได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมานที่อาจเกิดแก่สัตว์ ทั้งใน
ระหว่างเลี้ยงดู การใช้สัตว์ประกอบกิจการ และการทำให้สัตว์ตายโดยสงบซึ่งอาจกระทบต่อจารีตประเพณีและ
ศีลธรรมอันดีของสังคมไทยและชื่อเสียงของประเทศ รวมถึงการค้าระหว่างประเทศ ประกอบกับประเทศไทย
ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557