Page 75 - kpiebook62010
P. 75

68






                     
   
   (4) การควบคุมและกักขังสัตว์

                             (5) การฆ่าสัตว์

                             (6) การนำสัตว์มาให้เป็นรางวัล
                             (7) การใช้สัตว์เพื่อการแสดงหรือโฆษณา

                             (8) การอย่างอื่นตามความเหมาะสมแก่สัตว์  ตามชนิด  ประเภท ลักษณะ และอายุของสัตว์

               นั้นๆ”

                             โดยมีพิจารณาประเด็นนี้ในการประชุมครั้งที่ 6 วันที่ 4 ธันวาคม 2552 ที่ประชุมเห็นว่า

               โดยหลักการควรต้องกำหนดชนิดของสัตว์ที่จะได้รับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ เพราะคงไม่
               สามารถนำหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไปใช้กับสัตว์ทุกชนิดได้ โดยเฉพาะกรณีสัตว์เร่ร่อนไม่มีเจ้าของ โดยที่ประชุมฯ
               เห็นว่า อาจจะใช้หลักเกณฑ์ในเรื่องนี้สำหรับสัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจและสัตว์ป่าซึ่งไม่ได้เป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่า
               คุ้มครองก่อน เพื่อให้หลักเกณฑ์ดังกล่าวสามารถใช้บังคับได้ โดยกำหนดหลักการว่าการจัดสวัสดิภาพสัตว์ควรต้อง

               คำนึงเรื่องอะไรบ้าง สำหรับรายละเอียดให้ไปกำหนดในอนุบัญญัติ


                             ในส่วนของการดำเนินการที่ต้องจัดให้มีการจัดสวัสดิภาพสัตว์นั้น ที่ประชุมเห็นว่าการดำเนินการ
               ตามร่างมาตรา 27 ในบางกรณีไม่จำเป็นต้องมีการจัดสวัสดิภาพแก่สัตว์ เช่นการฆ่าสัตว์ตาม (5) นอกจากนี้
               การกำหนดว่าการดำเนินการใดบ้างที่ต้องจัดให้มีการจัดสวัสดิภาพแก่สัตว์ควรไปกำหนดในอนุบัญญัติ เพราะอาจมี

               การดำเนินการในบางเรื่องที่ควรต้องกำหนดให้มีการจัดสวัสดิภาพสัตว์เป็นการเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้แล้ว

                             อนึ่ง ยังมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องเจ้าของสัตว์ผู้มีหน้าที่จะต้องจัดสวัสดิภาพสัตว์ กล่าวคือ

               เดิมนั้นต้นร่างพระราชบัญญัตินี้ ให้คำนิยามคำว่า “เจ้าของ” หมายความว่า “เจ้าของกรรมสิทธิ์และ
               ให้หมายความรวมถึงผู้ครอบครองในกรณีสัตว์ที่ไม่ปรากฏเจ้าของหรือไม่สามารถหาเจ้าของได้ ให้หมายความ
               รวมถึงผู้เลี้ยงและผู้ควบคุมด้วย” ซึ่งจะสังเกตเห็นว่า ขอบเขตความเป็นเจ้าของของสัตว์นั้นรวมกรณีของการที่

               สัตว์ไม่ปรากฏเจ้าของหรือไม่สามารถหาเจ้าของได้ ให้หมายความถึงผู้เลี้ยงและผู้ควบคุมด้วย

                             อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งที่ 2 ที่ประชุมเห็นควรตัดถ้อยคำ “ในกรณีสัตว์ที่ไม่ปรากฏ

               เจ้าของหรือไม่สามารถหาเจ้าของได้ ให้หมายความรวมถึงผู้เลี้ยงและผู้ควบคุมด้วย” เนื่องจากเห็นว่าไม่ควร
               กำหนดให้รวมถึงสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของด้วย เพราะจะเป็นการผลักภาระให้ผู้ที่มีเมตตาในการเลี้ยงดูหรือให้อาหารแก่
               สัตว์เร่ร่อนให้ต้องถือว่าเป็นเจ้าของสัตว์และต้องดำเนินการจัดสวัสดิภาพให้แก่สัตว์ดังกล่าวด้วย ซึ่งในกรณีดังกล่าว

               กรมปศุสัตว์ควรเป็นผู้เข้าไปดูแลในเรื่องการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้แก่สัตว์เร่ร่อน และในการประชุมครั้งที่ 8 ได้มีการ
               ทบทวนนิยามของคำว่าเจ้าของสัตว์อีกครั้ง โดยผู้แทนจากกรมปศุสัตว์ได้ชี้แจงว่าผู้ให้อาหารแก่สัตว์ด้วยความ
               เมตตาไม่ถือเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองสัตว์ตามความหมายของบทนิยามนี้


                             ดังนั้นแล้ว นิยามของ “เจ้าของสัตว์” ตามพระราชบัญญัตินี้ จึงหมายความถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์
               รวมถึงผู้ครอบครองสัตว์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแล ไม่ว่าจะได้รับมอบหมายจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือผู้ซึ่งได้

               รับมอบหมายจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้ดูแลด้วย









                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80