Page 79 - kpiebook62010
P. 79
72
ขั้นตอนต่างๆ นี้ทำให้ยังไม่สามารถที่จะออกประกาศเกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งถือเป็นกฎหมายลูกที่สำคัญ
ต่อการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ ทำให้พระราชบัญญัตินี้จึงคล้ายกับจะมีแต่แง่มุมในการป้องกันการทารุณกรรม
สัตว์เท่านั้น แต่ยังขาดแง่มุมในการจัดสวัสดิภาพสัตว์ 14
4.4.2 การดำเนินการของหน่วยงานผู้รักษาการตามกฎหมายและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
กับการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์
หน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบการใช้บังคับตามกฎหมายนี้ คือ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ
ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ได้แก่ อธิบดีกรมปศุสัตว์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ และ
ผู้ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานต่างๆ ของกรมปศุสัตว์ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ให้ความเห็นว่า การที่กรมปศุสัตว์จะต้องรับ
หน้าที่เป็นหน่วยงานในการดูแลเรื่องการบังคับใช้พระราชบัญญัตินี้ ก็ถือว่าเป็นการเพิ่มภาระงานให้แก่กรมปศุสัตว์
ทั้งนี้ ตามขั้นตอนแล้ว เมื่อได้รับการแจ้งว่ามีการทารุณกรรมสัตว์ เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ซึ่งถือเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
ก็จะเข้าทำการตรวจสอบเบื้องต้น โดยกรมปศุสัตว์มีด่านกักกันสัตว์ทั่วประเทศ และมีพนักงานเจ้าหน้าที่ลงไปถึง
ระดับปศุสัตว์จังหวัด ถึงปศุสัตว์อำเภอ แต่อย่างไรก็ตาม งานของกรมปศุสัตว์แต่เดิมนั้นมีมากอยู่แล้วเพราะ
ก่อนหน้านี้ หน้าที่ของกรมปศุสัตว์นั้นจะอยู่ที่การดูแลสัตว์เศรษฐกิจคือปศุสัตว์เป็นสำคัญ แต่เมื่อมีพระราชบัญญัติ
นี้ใช้บังคับ กรมปศุสัตว์จะต้องดูแลสัตว์หมดทั้งประเทศ ซึ่งถือเป็นงานหนัก จึงสมควรที่จะมีการพิจารณาในเรื่อง
ของงบประมาณและบุคคลากรที่เพียงพอต่อภารกิจตามกฎหมาย 15
นอกจากกรมปศุสัตว์แล้ว ผู้ที่มีส่วนในการเป็นผู้ใช้กฎหมายนี้ ก็ยังได้แก่สมาคมหรือองค์กร
ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทารุณกรรมหรือการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ที่ได้รับการรับรองอยู่ในหมวดสองของ
พระราชบัญญัตินี้ด้วย
เกียรติยศ โรเยอร์ โลหนันทน์ เลขาธิการสมาคมพิทักษ์สัตว์ไทยให้ความเห็นไว้ว่า การมีพระราช
บัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์นั้นสร้างความชัดเจนและเป็นประโยชน์ในการป้องกัน
การทารุณกรรมสัตว์มากขึ้นกว่าแต่เดิมที่เคยมีแต่กฎหมายอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 381 และ
มาตรา 382 ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันจะได้รับการบัญญัติเพิ่มโทษปรับขึ้นบ้างแล้ว แต่ก็ยังขาดรายละเอียดอยู่มาก เมื่อมี
พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ ก็มีความชัดเจนมากขึ้นในเรื่องนิยามของการทารุณกรรมสัตว์ อย่างไรก็ตาม
ความชัดเจนที่ว่านั้นก็ยังถือว่าไม่มีความชัดเจนเพียงพอเพราะมีเพียงมาตราเดียวคือมาตรา 21 ประกอบกับนิยาม
เกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์ ซึ่งนิยามนี้เขียนไว้กว้างดีแล้ว แต่ปัญหาอยู่ที่การตีความของคน โดยกฎหมายนี้
สังคมเป็นผู้เรียกร้องให้มี แต่เมื่อมีแล้ว คนที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่ายที่ต้องบังคับใช้กฎหมาย และฝ่ายที่ต้องปฏิบัติตาม
กฎหมาย กลับสับสน ฝ่ายที่บังคับใช้ก็ไม่อยากจะบังคับใช้ เพราะสร้างภาระงานมากขึ้น ฝ่ายที่ต้องปฏิบัติตาม
14 สาธิต ปรัชญาอริยะกุล นิติกรสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) (สัมภาษณ์, 29 มิถุนายน 2560)
15 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต (อ้างแล้ว)
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557