Page 80 - kpiebook62010
P. 80

73






               กฎหมาย ได้แก่ คนรักสัตว์ คนเลี้ยงสัตว์ คนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์ มองว่าจากเดิมที่เคยทำอะไรก็ได้กับสัตว์

               กลับทำไม่ได้ บางคนมองไปไกลบถึงขนาดว่าเป็นการไประรานสิทธิของมนุษย์ สรุปแล้วสถานการณ์นั้นดีขึ้น ในแง่ที่
               ว่ากฎหมายนี้เป็นเหมือนกรอบหรือกติกาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อสัตว์ ซึ่งอาจเปรียบเทียบได้ว่าคล้ายกับมีกฎหมาย
               คุ้มครองแรงงานแต่ว่ายังคงมีปัญหาที่การบังคับใช้ เนื่องจากกฎหมายนี้ออกมาใช้บังคับโดยที่สังคมและหน่วยงาน

               ที่เกี่ยวข้องยังไม่พร้อม ซึ่งองค์กรพิทักษ์สัตว์ต่างๆ ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์
               หรือการจัดสวัสดิภาพสัตว์ แต่ก็ไม่มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายนี้โดยตรง ในการทำงานจึงจะต้องอาศัย
               พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอาจจะยังไม่เข้าใจกฎหมายและไม่อยากทำงานนี้ 16


                             อย่างไรก็ตาม สำหรับองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือสัตว์ป่านั้น ไม่ได้รับผลดีจาก
               พระราชบัญญัติฉบับนี้เท่าที่ควร เพราะในกรณีของสัตว์ป่านั้น จะถูกบังคับด้วยพระราชบัญญัติอีกฉบับหนึ่ง คือ

               พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการบังคับใช้กฎหมายนี้ได้แก่
               กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


                     
       เอ็ดวิน วิก (Edwin Wiek) ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า ให้ความเห็นว่า กฎหมายฉบับนี้
               เป็นประโยชน์สำหรับมูลนิธิที่ทำงานเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงแต่สำหรับองค์กรที่ทำงานด้านสัตว์ป่านั้น ไม่ได้รับประโยชน์

               จากกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากการใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับสัตว์ป่านี้อยู่ในอำนาจของกรมอุทยานแห่งชาติฯ
               ซึ่งแตกต่างจากกรณีของสัตว์เลี้ยงซึ่งอยู่ในอำนาจของกรมปศุสัตว์ อย่างไรก็ตามสัตว์ป่านั้นก็ต้องถูกบังคับตาม
               กฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์นี้ด้วย แต่การเข้าไปช่วยเหลือสัตว์ป่านั้นยังมีปัญหาเพราะจะไปขัดต่อ
               กฎหมายที่เกี่ยวกับสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เนื่องจากการเข้าไปช่วยสัตว์ป่าที่ถูกทารุณกรรม หรือได้รับ

               ความทุกข์ทรมานด้วยเหตุอื่นเช่นอุบัติเหตุนั้น ในกรณีที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองการเข้าไปช่วยเหลือสัตว์ป่าจะถูกห้าม
               ด้วยกฎหมาย ซึ่งมีโทษจำคุกถึง 4 ปี  (เนื่องจากการเข้าไปนำสัตว์ป่าที่เป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง
                                             17
               มาให้การดูแลช่วยเหลือ อาจจะถือว่าเป็นการครอบครองสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติ
               สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 19 ซึ่งมีโทษตามมาตรา 47 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือ
               ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ– ผู้วิจัย)


                             เช่นเดียวกับกรณีของสัตว์ในสวนสัตว์ ที่แม้ว่าจะเป็นสัตว์ที่ได้รับความคุ้มครองตาม
               พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ก็ตาม แต่เนื่องจากการดำเนินการของสวนสัตว์
               นั้นมีมาตรฐานด้านการจัดสวัสดิภาพสัตว์ที่สูงอยู่แล้ว


                     
   
   น.ส.พ. วิศิษฎ์ อาศัยธรรมกุล รองผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ ให้ความเห็นว่า พระราชบัญญัติ
               ฉบับนี้ ทำให้คนมีความตระหนักในการปฏิบัติต่อสัตว์มากขึ้น ในการที่จะทำอะไรที่ส่งผลต่อร่างกายหรือจิตใจของ

               สัตว์ แต่อย่างไรก็ตาม ในการบังคับใช้กฎหมายนี้ไม่มีผลต่อสวนสัตว์ของภาครัฐเท่าไร เพราะการจัดสวัสดิภาพของ
               สวนสัตว์ทางภาครัฐนั้น เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่คำนึงถึงทั้งสภาพร่างกายและจิตใจของสัตว์อยู่แล้ว และมี

               คณะกรรมการที่ตรวจสอบควบคุมการดำเนินการของสวนสัตว์ของรัฐให้ได้มาตรฐานอยู่แล้ว ในส่วนของสวนสัตว์

               
     16   เกียรติยศ โรเยอร์ โลหนันทน์ เลขาธิการสมาคมพิทักษ์สัตว์ไทย (สัมภาษณ์, 28 มิถุนายน 2560)

               
     17   เอ็ดวิน วิก (Edwin Wiek) ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า (สัมภาษณ์, 28 มิถุนายน 2560)








                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85