Page 85 - kpiebook62010
P. 85

78






                     4.4.4  แนวการวินิจฉัยและคำพิพากษาของศาลตามกฎหมายนี้


                             ในขณะที่ทำการศึกษานี้ ยังไม่มีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นคดีถึงที่สุด
               ในชั้นศาลฎีกา รวมทั้งคดีส่วนใหญ่เป็นคดีในศาลแขวง และจำเลยมักจะรับสารภาพ โดยไม่มีการต่อสู้คดีในเรื่อง
               ขององค์ประกอบความผิด จึงอาจกล่าวได้ว่ายังไม่มีบรรทัดฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางการวินิจฉัยและคำพิพากษา

               ของศาลตามกฎหมายนี้

                             อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่เป็นข้อสังเกตสองประการ เกี่ยวกับเรื่องอัตราโทษที่ศาลลงโทษ และ

               การตีความความหมายของคำว่า “กระทำทารุณกรรม”

                     
   
   (1) ข้อสังเกตเกี่ยวกับอัตราโทษที่ศาลลงแก่ผู้กระทำความผิด แม้ว่าโทษสูงสุดในความผิดฐาน

               กระทำทารุณกรรมสัตว์ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะระวางโทษไว้ที่จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท
               หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่เนื่องจากความผิดนี้ไม่มีโทษขั้นต่ำ ศาลจึงมีอิสระในการพิจารณาพิพากษากำหนดโทษไปตาม
               ความร้ายแรงแห่งกรณีได้


                             ในระยะแรกนั้นอัตราโทษที่ศาลกำหนดสำหรับผู้กระทำความผิดในเรื่องนี้อาจจะยังไม่มีแนวทาง

               หรือการกำหนดอัตราโทษไว้ ในความผิดคดีแรกที่มีการใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นเรื่องที่ผู้กระทำความผิด
               นั้นทำร้ายสัตว์ (สุนัข) ด้วยอาวุธมีดเป็นแผลฉกรรจ์ที่บริเวณใบหน้า แต่ไม่ถึงกับทำให้สุนัขตัวนั้นตาย ในคดีนี้
               ศาลจังหวัดหนองคายได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเป็นเวลา 1 ปี ปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกรอการลงโทษไว้
               1 ปี ในขณะที่คดีต่อมาๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นการฆ่าสุนัขด้วยวิธีการต่างๆ ก็ไม่ปรากฏว่าศาลลงโทษจำคุกสูงถึง 1 ปี

               อีก เช่น กรณีการใช้ยาพิษฆ่าสุนัข ศาลลงโทษจำคุก 4 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี กรณีการฆ่าสุนัข
               แล้วโพสต์คลิปวิดิโอลงในเฟสบุ้ก ศาลลงโทษจำคุก 3 ปี สำหรับผู้ฆ่าและผู้ถ่ายวิดิโอและโพสต์คลิปวิดิโอ แต่ศาล
               รอการลงโทษให้ 1 ปี เฉพาะผู้ที่ถ่ายและโพสต์คลิป แต่สำหรับผู้ที่ลงมือฆ่าสุนัขนั้นศาลไม่รอการลงโทษให้


                             กรณีอื่นๆ ที่ผู้กระทำความผิดฆ่าสัตว์ ศาลจะลงโทษจำคุกเฉลี่ยกรรมละประมาณ 3 – 6 เดือน

               และส่วนใหญ่จะรอการลงโทษจำคุกไว้ ยกเว้นกรณีการฆ่าสุนัขเพื่อชำแหละเนื้อ ศาลลงโทษจำคุก 1 ปี แต่ก็รอ
               การลงโทษไว้ 1 ปี มีข้อสังเกตว่า ในกรณีที่ศาลไม่รอการลงโทษให้ในกรณีที่อาจจะรอการลงโทษให้ได้ตามกฎหมาย
               นั้น จะเป็นกรณีที่ผู้กระทำความผิดนั้นกระทำโดยวิธีที่ไม่ใช่วิธีธรรมดาทั่วไปในการฆ่าสัตว์ ได้แก่ การโยนลงมาจาก
               ที่สูง การใช้ท่อนเหล็กตีสุนัขจนชัก เมื่อเห็นว่าไม่ตายจึงใช้มีดแทงซ้ำ


                             จึงเป็นข้อสังเกตว่า แม้พระราชบัญญัตินี้จะกำหนดโทษอาญาสำหรับผู้ที่กระทำการทารุณกรรมต่อ
               สัตว์ไว้สูงถึง 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท แต่ในการบังคับใช้จริงนั้น ยังไม่ปรากฏว่าศาลเคยพิพากษาให้ลงโทษ

               เกินกว่า 1 ปี เลย อย่างไรก็ตาม อัตราโทษที่ศาลลงโทษก็ยังเกินกว่าอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย
               อาญา มาตรา 381 ที่เป็นความผิดลหุโทษ ทั้งนี้พอจะพิจารณาได้ว่าศาลได้ปรับอัตราโทษตามพฤติการณ์และ

               ความร้ายแรงเป็นรายกรณีๆ ไป

                     
       (2) ข้อสังเกตเรื่องการตีความความหมายของคำว่า “กระทำทารุณกรรม” ตามความหมายของ

               นิยามศัพท์ตามมาตรา 3 การ “ทารุณกรรม” ไว้ในส่วนแรกว่าหมายถึง “การกระทำหรืองดเว้นการกระทำใดๆ








                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90