Page 86 - kpiebook62010
P. 86
79
ที่ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ
หรืออาจมีผลทำให้สัตว์นั้นตาย”
จึงมีปัญหาว่า การทำให้สัตว์นั้นตายโดยทันที หรือมีเจตนาในการที่จะฆ่าสัตว์นั้นตั้งแต่ต้นแล้ว
เจตนาที่ประสงค์ต่อผลเป็นการฆ่าสัตว์นั้น ถือว่าเกลื่อนกลืนเป็นการทารุณกรรมสัตว์ไปในตัวหรือไม่ หรือผู้กระทำ
ผิดจะต้องมีเจตนาในการทารุณกรรมสัตว์ คือต้องการให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานหรือได้รับความเจ็บปวด
ในเบื้องต้นก่อน ส่วนความตายของสัตว์นั้นถือเป็นผลของการทารุณกรรมนั้น
ปัญหาดังกล่าวยังไม่มีแนวคำพิพากษาถึงที่สุดวางหลักไว้ และจำเลยในคดีนี้ให้การรับสารภาพ
ในความผิดฐานกระทำทารุณกรรมสัตว์ ซึ่งเป็นกรณีความผิดอาญาที่มีระวางโทษจำคุกอย่างต่ำไม่เกิน 5 ปี
เมื่อจำเลยสารภาพแล้ว ศาลจึงรับฟังได้ตามคำรับสารภาพของจำเลยว่าจำเลยกระทำความผิดและลงโทษจำเลยได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ดังนั้นหากไม่มีคดีที่จำเลยให้การต่อสู้
ในข้อหาว่าตนเองไม่ได้กระทำทารุณกรรมสัตว์ ก็อาจจะไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายในเรื่อง
ที่ว่าการ “ฆ่าสัตว์” ของจำเลยถือเป็นการกระทำทารุณกรรมสัตว์หรือไม่
เมื่อพิจารณาจากคำฟ้องของพนักงานอัยการที่ปรากฏในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีหนึ่ง
ของศาลอาญา ในคดีหมายเลขแดงที่ อ.903/2559 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2559 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงาน
อัยการสูงสุด โจทก์ กับนายวิชา บุญลือลักษณ์ จำเลย ในคดีนี้พนักงานอัยการบรรยายฟ้องในส่วนความผิดทารุณ
กรรมสัตว์ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงสุนัขสีขาวดำจำนวนหลายนัด กระสุนปืนถูกที่หัวไหล่
ทั้งสองข้าง เป็นเหตุให้ขาทั้งสี่ข้างของสุนัขดังกล่าวเป็นอัมพาต มีเลือดออกภายในปอดจำนวนมาก ได้รับความทุกข์
ทรมานทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความเจ็บปวดทุพลภาพ และเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย อันเป็นการทารุณกรรม
ต่อสุนัขซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงไว้เพื่อเป็นสัตว์บ้าน ไม่ว่าจะมีเจ้าของหรือไม่ก็ตามให้ได้รับความทุกข์ทรมาน เป็นการฆ่า
สัตว์ให้ได้รับทุกข์เวทนาอันไม่จำเป็น โดยไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกัน
การทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ มาตรา 3 มาตรา 20 และมาตรา 31 ในคดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ
ในข้อหานี้ และศาลได้ตัดสินว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษตามคำรับสารภาพจากจำเลย จึงไม่ได้ตีความว่า การยิง
ปืนใส่สุนัขและเกิดผลตามที่พนักงานอัยการบรรยายฟ้องมานั้น ถือว่าเป็นการกระทำทารุณกรรมสัตว์หรือไม่
อย่างไร
สังเกตว่า พนักงานอัยการถือ “ผล” จากการกระทำของจำเลย ที่ทำให้สุนัขได้รับความทุกข์
ทรมานต่างๆ ด้วยบาดแผลจากการยิง ว่าถือเป็นการทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานทางร่างกายหรือจิตใจ
ได้รับความเจ็บปวดทุพลภาพ และเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย อันเป็นการทารุณกรรมสัตว์ซึ่งเป็นความผิดตาม
กฎหมายแล้ว
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับกรณีการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
289 (5) ผู้ใดฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย แล้ว จะเห็นว่า ตามแนวคำพิพากษาของศาลนั้น
ลำพังเพียงเจตนา “ฆ่า” นั้น ไม่ถือว่าเป็นการกระทำทารุณโหดร้ายในตัวเอง แต่ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาให้ผู้ถูก
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557