Page 90 - kpiebook62010
P. 90

83






               ผู้ตายเสพรับสารพิษสตริกนินเข้าสู่ร่างกายเป็นระยะๆ สุดแล้วแต่สถานการณ์และโอกาสจะอำนวย เป็นเหตุให้

               ผู้ตายต้องป่วยเจ็บได้รับความทุกข์ทรมานตลอดมา จนกระทั่งเมื่อมีเหตุที่สามารถหันเหความสนใจของผู้อื่นไปจาก
               อาการของสารพิษสตริกนินได้แล้วก็ได้เพิ่มจำนวนสารพิษสตริกนิน ให้ผู้ตายเสพรับเข้าสู่ร่างกายจนถึงขีดที่ร่างกาย
               ไม่สามารถต้านทาน ได้และผู้ตายถึงแก่ความตายในที่สุด ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยประสงค์จะให้ผู้ตายได้รับ

               ความลำบากอย่างสาหัสก่อนตายด้วย อันมิใช่เป็นการฆ่าโดยวิธีธรรมดาทั่ว ๆ ไป การกระทำของจำเลยจึงเป็น
               การฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้าย (วรรคสุดท้ายวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2532)


                     
   
   คำพิพากษาฎีกาที่ 699/2510 จำเลยและผู้ตายอยู่กินเป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส
               จำเลยได้ใช้มือและเท้าทำร้ายผู้ตาย โดยทำร้ายบ้างหยุดบ้างสลับกันเป็นระยะ ๆ รวมเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง ไม่ได้
               ความว่าจำเลยทำร้ายผู้ตายโดยลักษณะและความรุนแรงเพียงใด ลักษณะบาดแผลของผู้ตายที่แพทย์ว่าอาจทำให้

               ถึงตายได้ คือ หน้าบวม ศรีษะบวม และไตแตก ไม่มีเหตุพอจะให้พิจารณาประกอบบาดแผลว่า จำเลยได้กระทำ
               โดยลักษณะและความรุนแรงที่อาจจะเห็นผลได้ว่าน่าจะทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ จำเลยมีความผิดฐาน
               ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา โดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรค 2 ไม่ผิดฐาน

               ฆ่าคนตายโดยเจตนา


                     
       คำพิพากษาฎีกาที่ 1127/2503 ใช้ขวานฟันซ้ำๆ หลายทีจนตาย มีแผลฉกรรจ์ที่ศีรษะ 9 แผล
               ที่คอ 3 แผลและแผลไม่ฉกรรจ์ที่อื่นอีก เป็นการฆ่าด้วยความทารุณโหดร้าย


                             จากแนวคำพิพากษาศาลฎีกาในเรื่องที่เกี่ยวกับการฆ่าโดยทารุณโหดร้ายนั้นอาจจะนำมา
               เปรียบเทียบโดยตรงกับการการกระทำความผิดฐานทารุณกรรมต่อสัตว์ไม่ได้โดยตรงเสียทีเดียว แต่ก็แสดงให้เห็นว่า
               ตามแนวการพิจารณาของศาลนั้น เจตนาทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ถือเป็นการกระทำทารุณโหดร้ายในตัวของมัน
               แต่จะต้องมีพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นเจตนาว่าผู้กระทำนั้นประสงค์จะให้ผู้ที่ถูกกระทำนั้นได้รับความเจ็บปวดทรมาน

               จนเกินสมควรก่อนจะตายด้วย


                             ดังนั้นหากพิจารณาองค์ประกอบความผิดฐานทารุณกรรมสัตว์ตามพระราชบัญญัตินี้ ตามมาตรา
               20 ที่ว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร” ประกอบมาตรา 3 ที่ให้
               นิยามคำว่าการทารุณกรรม ว่าหมายความว่า “การกระทำหรืองดเว้นการกระทำใดๆ ที่ทำให้สัตว์ได้รับความ

               ทุกข์ทรมานไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรืออาจมีผลทำให้
               สัตว์นั้นตาย” แล้ว


                             มีข้อพิจารณาว่า การกระทำที่จะเข้าองค์ประกอบความผิดดังกล่าวนี้ ผู้กระทำจะต้องมีเจตนา
               ในการที่จะกระทำหรืองดเว้นการกระทำใดๆ ที่ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ
               ได้รับความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เป็นเจตนาตั้งต้นก่อนหรือไม่ โดยหากสัตว์นั้นตาย จึงถือเป็น

               ผลจากเจตนาตั้งต้นที่ตั้งใจจะให้สัตว์นั้นได้รับความทุกข์ทรมาน เช่นนี้การฆ่าสัตว์โดยมีเจตนาให้สัตว์ตายในทันที
               โดยไม่ได้มีเจตนาในการที่จะทำให้สัตว์นั้นได้รับความทุกข์ทรมานก่อนตาย เพียงแต่ความทุกข์ทรมานนั้นเป็น
               ผลจากความตายเท่านั้นหรือไม่











                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95