Page 91 - kpiebook62010
P. 91
84
ปัญหาข้อนี้จะต้องพิจารณากันก่อนว่า วัตถุประสงค์หรือคุณธรรมที่กฎหมายข้อนี้มุ่งจะคุ้มครอง
นั้นคืออะไร คือการห้ามมิให้มนุษย์กระทำต่อสัตว์โดยมีเจตนาจะทารุณกรรมเพื่อให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน
โดยไม่สมควรแก่กายหรือจิตใจ หรือต้องการห้ามมิให้มนุษย์ฆ่าสัตว์โดยไม่มีเหตุยกเว้นตามกฎหมาย
หากวัตถุประสงค์ของกฎหมายเป็นประการหลัง การกระทำใดๆ ก็ตามที่ทำให้สัตว์ตาย ไม่ว่าจะ
โดยวิธีการใด หากการทำให้สัตว์ตายนั้นไม่ใช่เหตุที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายในมาตรา 21 แล้ว ก็ถือว่า
การทำให้สัตว์ตายนั้น ถือว่าเป็นการละเมิดหรือกระทำผิดตามกฎหมายนี้ และแนวคำพิพากษาของศาลที่ลงโทษ
ผู้ที่ฆ่าสัตว์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่ผ่านมานั้นก็เป็นไปโดยตอบสนองเจตนารมณ์ของกฎหมายนี้แล้ว
แต่หากวัตถุประสงค์ของกฎหมายเป็นประการแรกแล้ว การที่ศาลจะตัดสินลงโทษผู้กระทำ
ความผิดตามมาตรานี้ได้ ศาลจะต้องชี้ให้เห็นเสียก่อนว่า การกระทำของผู้กระทำความผิดนั้นมีเจตนาที่จะทำให้สัตว์
นั้นได้รับความทุกข์ทรมานก่อนตายหรือไม่ด้วย จึงจะถือว่าการกระทำของจำเลยนั้นครบตามองค์ประกอบความผิด
มิใช่เพียงการทำให้สัตว์ตายไม่ว่าจะวิธีการใด ก็ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรานี้แล้ว
ความชัดเจนในเรื่องนี้อาจจะต้องรอแนวคำพิพากษาถึงที่สุดมาวางหลักไว้ แต่ทั้งนี้ จะต้องมีกรณี
ที่มีการต่อสู้คดีในประเด็นเรื่ององค์ประกอบความผิดและเจตนาการกระทำความผิดในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณา
จากข้อเท็จจริงในการบังคับใช้กฎหมาย อัตราโทษ และแนวทางการต่อสู้คดีของผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยแล้ว ก็อาจ
จะเป็นเรื่องยากที่จะมีการต่อสู้ในประเด็นนี้ขึ้นมาในชั้นศาลฎีกา
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557