Page 64 - kpiebook62015
P. 64

ภาพที่ 3.5 แสดงให้เห็นว่าองค์ความรู้ทุกชุดต่างมีความสัมพันธ์ต่อกัน และองค์ความรู้ที่
                        ใช้ร่วมกันได้ หลักการประชาธิปไตย หลักการสื่อสาร และหลักความไว้วางใจ

                                ส าหรับความรู้ในแต่ละด้าน ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้
                                องค์ความรู้ที่ 1 การพัฒนาศักยภาพสมาชิก มีองค์ประกอบย่อย คือ การให้ความรู้ สร้าง

                        ความเข้าใจ เพิ่มพูนทักษะ ดังนี้

                                 •  มึความรู้ ใช้ความคิดและปัญญา ได้แก่ ความรู้ให้หลักการประชาธิปไตย ความรู้เชิง
                                    ปฏิบัติการในประเด็นที่พื้นที่ต้องการพัฒนา ความรู้นโยบายสาธารณะ ทักษะการ

                                    คิดวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์เพื่อเกิดความรู้หรือทางเลือก หรือความคิดใหม่

                                 •  พึ่งพาตนเอง การเห็นความส าคัญและตระหนักในศักดิ์ศรีของตนและชุมชนของ
                                    ตนเอง

                                 •  ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลง

                                 •  การลงมือท า เพื่อน าไปสู่การเรียนรู้จากประสบการณ์ (learning by doing and

                                    experience learning)
                                องค์ความรู้ที่ 2 ผู้น าและการบริหารจัดการ ในที่นี้คือองค์ความรู้ผู้น าชุมชน

                        (community leadership) ต้องมีและต้องปฏิบัติ มีองค์ประกอบย่อยที่ส าคัญ คือ

                                 •  ให้โอกาสแสดงความคิด และเป็นผู้เชื่อมประสานความคิดสู่การปฏิบัติ
                                 •  บริหารจัดการชุมชนร่วมกับสมาชิก

                                ผู้น าชุมชน ให้โอกาส รับฟังความคิดเห็น และน าความคิดของชุมชนสู่การปฏิบัติ ด้วย

                        หลักการประชาธิปไตย ซึ่งส่งผลส าคัญต่อการเสริมสร้างพลเมืองประชาธิปไตย ที่เรียนรู้ได้ว่า
                        หลักการประชาธิปไตยเป็นหลักการรูปธรรม ปฏิบัติได้ และเกิดประโยชน์จริง ส าหรับ

                        องค์ประกอบการบริหารจัดการมีความส าคัญต่อผู้น าในการจัดการทรัพยากรที่กลุ่มหรือชุมชนมี

                        อยู่อย่างเป็นระบบ มีหลักการในการท าให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มและชุมชน บริหารจัดการให้เกิด
                        ความร่วมมือ (collaboration)  ระหว่างบุคคล ไปจนถึงภาคส่วนอื่น ๆ ซึ่งความร่วมมือเป็น

                        ประเด็นความท้าทายส าหรับการท างานที่พบว่าปัญหาการบริหารจัดการคน เช่น ท าอย่างไรให้
                        ผู้น าท างานชาวบ้านร่วมมือ เป็นต้น

                                อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการชุมชนที่ดีต้องมุ่งให้เกิดความร่วมมือ และความสัมพันธ์

                        กับการสร้างการมีส่วนร่วม ที่จะยกระดับปัจเจกบุคคลสู่กลุ่มหรือชุมชน (individual  to
                        community)









                                                               52
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69