Page 68 - kpiebook62015
P. 68
องค์ความรู้ด้านผู้น าที่ต้องสามารถน าความคิดของสมาชิกไปสู่การปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายใน
การพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาของชุมชน 3) หลักการประชาธิปไตยและยึดเป็นวิถีชีวิต 4) องค์
ความรู้ด้านการมีส่วนร่วม 5) องค์ความรู้ด้านการเรียนรู้และการขยายผลเพื่อความต่อเนื่องและ
ยั่งยืน 6) องค์ความรู้การสื่อสารและระบบสื่อสาร และ 7) องค์ความรู้ด้านความไว้วางใจ
องค์ความรู้ที่มี ความสอดคล้องกันระหว่างงานวิชาการและภาคสนาม คือ องค์ความรู้
การเพิ่มศักยภาพสมาชิก องค์ความรู้ผู้น า องค์ความรู้หลักการประชาธิปไตยและยึดเป็นวิถี
ประชาธิปไตย องค์ความรู้ขยายผลต่อเนื่องยั่งยืน องค์ความรู้ด้านการเรียนรู้ต่อเนื่อง
ส าหรับองค์ความรู้ที่แตกต่างระหว่างงานวิชาการและภาคสนาม คือ องค์ความรู้ด้านการ
สื่อสารและระบบการสื่อสาร และ ความไว้วางใจ ซึ่งเป็นองค์ความรู้จากภาคสนาม และจาก
ปฏิบัติการภาคสนามยังพบว่าการมีพื้นที่สาธารณะในกระบวนการมีส่วนร่วมมีความส าคัญเป็น
อย่างมาก เพราะการเข้ามีส่วนร่วมของกลุ่มพันธมิตร หรือผู้ที่มีความประสงค์ แต่หากไม่มี
ช่องทางเข้ามีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน การมีพื้นที่สาธารณะที่
พลเมืองทุกคนรับรู้ได้ว่าเป็นพื้นที่เรียนรู้แลกเปลี่ยน และมีกระบวนการประชาธิปไตยย่อมสะดวก
ต่อการเข้าร่วม เช่นกรณีโครงการโรงเรียนพลเมืองที่เป็นเครื่องมือสร้างพื้นที่สาธารณะที่รวมผู้คน
ทุกกลุ่มเข้าด้วยในการเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติด้วยมุ่งเป้าหมายส่วนรวมเดียวกัน เป็นพื้นที่
พัฒนาการกล้าแสดงความคิดเห็นและแสดงออก และมีความมั่นใจในการน าความรู้ไปช่วยเหลือ
ผู้อื่นต่อซึ่งเป็นการสร้างผู้น าขึ้นอีกประการหนึ่ง พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นพื้นที่เรียนรู้ส าคัญส าหรับผู้ที่
มีปัญหาแตกต่างกันตามบริบทพื้นที่ได้แลกเปลี่ยนและค้นหาแนวทางแก้ปัญหาและทางเลือกที่
พัฒนาความรู้ใหม่ ๆ ขึ้นด้วย (ความคิดเห็นจากการประชุมถอดบทเรียน ณ ศูนย์เรียนรู้ อบต.
ไพศาล อ.ธวัชบุรี, 15 มิถุนายน 2561) และได้มีโอกาสปรับความคิดแบบใหม่ ปรับมุมมองใหม่ต่อ
ความแตกต่างที่เกิดขึ้นจากผู้อื่น และแสวงหาจุดร่วม ให้เป้าหมายของชุมชนเป็นหลัก ทั้งนี้
เป็นไปตามของโครงการโรงเรียนพลเมืองตามวัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 ของโครงการที่กล่าวว่า “เพื่อ
เปิดโอกาสและเพิ่มช่องทางให้คนในชุมชนมีพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง”
องค์ความรู้ด้านการมีส่วนร่วมจากปฏิบัติการในภาคสนามจึงต้องการเครื่องมือที่เปิด
พื้นที่ให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้ ในภาคสนามพื้นที่สาธารณะจึงมีความส าคัญต่อ
การสร้าง/เริ่มต้น การมีส่วนร่วม และสอดคล้องกับการเพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ
แสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นปัจจัยสร้างความเป็นพลเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ตาม
แนวคิดของ เจอร์เก้น ฮาเบอร์มาส (Jürgen Habermas) การสังเคราะห์ความรู้ครั้งนี้ยังพบว่า
พื้นที่สาธารณะนั้นได้ช่วยส่งเสริมการเข้ามีส่วนร่วม ตั้งแต่พื้นฐานของการเป็นพลเมืองที่
56