Page 65 - kpiebook62015
P. 65
องค์ความรู้ที่ 4 การมีส่วนร่วม เป็นองค์ความรู้ที่มีองค์ประกอบย่อยคือ ต้องมีเป้าหมาย
ร่วมกัน ทิศทางเดียวกัน ให้ความส าคัญกับชุมชนและความต้องการของชุมชน ทุกภาคส่วนมีส่วน
ร่วม ทั้งภาคีและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐ เอกชน และประชาสังคม ไม่ทิ้งภาคส่วนใดและมี
พื้นที่สาธารณะเป็นช่องทางให้ทุกคนเข้ามีส่วนร่วม
• มีเป้าหมายร่วมเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
• ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม
• มีพื้นที่สาธารณะ
องค์ความรู้ที่ 5 การเรียนรู้และขยายผลที่ต่อเนื่องและยั่งยืน องค์ประกอบส าคัญคือ
การเรียนรู้ทั้งในระดับปัจเจกและชุมชน และมีการถอดบทเรียนร่วมกัน ทั้งนี้ต้องกระท า
ท่ามกลางการคิดวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์เพื่อน าไปสู่การพัฒนาทั้งในทางศักยภาพและ
ความสามารถที่ต้องพัฒนาขึ้น (enrichment) และจะพัฒนาสู่รูปแบบที่เหมาะสมสู่การน าไปใช้
ต่อเนื่อง (enlargement) อันจะน าไปสู่การขยายผล หรือการน าไปใช้ต่อเนื่องต่อไป
• การเรียนรู้ของสมาชิกชุมชนและของชุมชน (individual & community
learning)
• การเพิ่มพูนศักยภาพหรือยกระดับเชิงคุณภาพและการขยายเพิ่มพื้นที่หรือเชิง
ปริมาณ (enrichment & enlargement)
ส าหรับ องค์ความรู้ที่ 3 หลักการประชาธิปไตย องค์ความรู้ที่ 6 การสื่อสารที่มี
ประสิทธิภาพ และ องค์ความรู้ที่ 7 การสร้างความไว้วางใจ เป็นองค์ความรู้ทั้งเชิงหลักการและ
เชิงปฏิบัติ หลักการประชาธิปไตย ที่ยึดมั่นไปปฏิบัติเป็นวิถีชีวิต เช่นเดียวกันการสื่อสารที่มี
ประสิทธิภาพและการสร้างความไว้วางใจ ที่ต้องมีหลักการและน าสู่การปฏิบัติ (practice) และ
เป็นองค์ความรู้ที่ต้องอยู่ในทุกกระบวนของทุกปฏิบัติการ ดังนั้น จึงต้องเข้าใจว่าองค์ความรู้ในแต่
ละช่วงเวลาของการด าเนินโครงการนั้นไม่ได้เป็นความรู้เพียงชุดเดียวที่ท างานอยู่อย่างโดด ๆ แต่
ใช้ร่วมกับองค์ความรู้ชุดอื่น ๆ อยู่เสมอ บางครั้งเป็นการผสมผสานความรู้กัน ทั้งในแบบต่อเนื่อง
จนจบโครงการและในแบบการเรียกใช้เป็นช่วง ๆ
นอกจากนี้แล้ว ในแต่ละชุดองค์ความรู้จะมีน าองค์ประกอบย่อยของความรู้อีกหลาย
ประการมาใช้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
53