Page 69 - kpiebook62015
P. 69
แสดงออก (action) ในความกล้าคิด กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าริเริ่มลงมือท าเพื่อแก้ไขปัญหา
และได้ฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ สอดคล้องกับองค์ความรู้ด้านศักยภาพของสมาชิกชุมชนอีกด้วย
ส าหรับองค์ความรู้ด้านความไว้วางใจ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ภาคสนามให้ความส าคัญนั้น มี
ความจ าเป็นต่อการท างานในเชิงบูรณาการความร่วมมือและบูรณาการทรัพยากรที่ประกอบด้วย
ภาคส่วนที่หลากหลาย การเริ่มต้นด้วยการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ เป็นรูปธรรมของการ
รับรู้ความร่วมมือในการก้าวเดินสู่เป้าหมาย แต่ในการปฏิบัติแล้วจะเป็นไปตามข้อตกลงนั้น
หรือไม่ ย่อมต้องการความไว้วางใจระหว่างกัน นอกจากนี้ โครงการที่ท างานร่วมกันหลายภาค
ส่วน ความไว้วางใจต่อกันเพื่อท างานร่วมกันนั้นเป็นสิ่งจ าเป็น ขณะที่ในงานวิชาการไม่มีการ
กล่าวถึงความไว้วางใจกันอาจเป็นเพราะเป็นการศึกษาชุมชนที่เป็นหน่วยงานเดียว แต่ไม่ได้
หมายถึงการท างานในลักษณะของการขยายวงกว้าง (enlarge) ไปสู่การบูรณาการร่วมกันภาค
ส่วนอื่น ๆ ที่ท าให้ความไว้วางใจมีความส าคัญมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดความไว้ว่าใจใน
การพัฒนาที่น าเสนอโดย LucieLaurian, (2009)
องค์ความรู้ที่สังเคราะห์ได้ในงานศึกษานั้น ที่ประกอบด้วยองค์ความรู้ในระดับปัจเจกนั้น
สอดคล้องและยืนยันแนวคิดทฤษฎีที่เชื่อว่าการพัฒนาปัจเจกบุคคลหรือสมาชิกชุมชนคือการ
พัฒนาผ่านการส่งเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มหรือชุมชนด้วย หลักคิดว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีค่า
และส าคัญที่สุด และจะพัฒนาได้ดีที่สุดด้วยการรวมกลุ่ม การเรียนรู้ร่วมกัน และยึดหลักการ
ประชาธิปไตย และสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ต้องเป็นกระบวนการเรียนรู้และการ
เปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตร (dynamic process) เป็นองค์รวมและเป็นผลของการบูรณาการ
แนวความคิดที่หลากหลายและผ่านการเรียนรู้ของทั้งชุมชนและภายนอกชุมชน (อนุรักษ์ ปัญญา
นุวัฒน์ , 2548) และสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ต้องยึดหลักความมีศักดิ์ศรีและศักยภาพ
ของประชาชน ยึดหลักการพึ่งตนเองของประชาชน ยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และ ยึด
หลักประชาธิปไตย (เพ็ญศรี ฉิรินัง และ วรสิทธิ์ เจริญพุฒ. 2559,น. 89-99) นอกจากนี้ องค์
ความรู้ที่พบจากโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดยังได้สะท้อนให้เห็น
อ านาจการปกครองของพลเมืองเช่นที่นักพัฒนาชุมชนได้กล่าวว่าอ านาจรัฐเพียงอย่างเดียวย่อมไม่
เพียงพอ ต้องอาศัยอ านาจประชาชน ซึ่งการรวมตัวรวมกลุ่มเพื่อสร้างอ านาจของประชาชนจึง
ช่วยพัฒนาให้ชุมชน พื้นที่ หรือ ท้องถิ่น มีความเข้มแข็งขึ้น (strengthening local
organization) และปลูกฝังประชาธิปไตยในระดับล่างสุด (grass root of democracy) ให้
ประชาชนพลเมืองก็มีความเข้มแข็งขึ้นเช่นกัน กล่าวได้ว่า “รากฐานของประชาธิปไตยเริ่มที่
หมู่บ้าน”และจะเป็นรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระดับชาติต่อไป
57