Page 104 - kpiebook62016
P. 104

87






                                                              บทที่ 4

                           การเปลี่ยนผ่านจากระบอบทหารไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในทวีปอเมริกาใต้


                              ทวีปอเมริกาใต้ในอดีตได้ชื่อว่าส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการรูปแบบใด
                       รูปแบบหนึ่ง ทุกวันนี้หลายประเทศมีพัฒนาการที่มั่นคงตามวิถีทางประชาธิปไตย แม้จะต้องผ่านการ

                       ต่อสู้ดิ้นรนเป็นเวลาหลายทศวรรษ ผ่านวิกฤติการเมืองและการจลาจล รัฐประหาร นับครั้งไม่ถ้วน ใน

                       ภูมิภาคอเมริกาใต้ยังคงเต็มไปด้วยปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล ้า การคอรัปชั่น การบังคับใช้

                       กฎหมายที่ไม่เท่าเทียม และอื่นๆ แต่พัฒนาการทางการเมืองและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย
                       ของหลายประเทศในอเมริกาใต้ สมควรได้รับการศึกษา สองประเทศที่การศึกษานี้น ามาถอดบทเรียน

                       ในการเปรียบเทียบกระบวนการเปลี่ยนผ่านและจรรโลงประชาธิปไตย คือ ชิลี และอาร์เจนตินา ถึงแม้

                       ทั้ง 2 ประเทศ เคยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารเหมือนกัน แต่ความแตกต่างที่โดดเด่นที่สุด

                       คือ ขณะเมื่อลงจากอ านาจ กองทัพชิลียังคงเหลืออ านาจต่อรองกับรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง

                       ตรงกันข้ามกับอาร์เจนตินา ความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและความพ่ายแพ้ในสงคราม
                       เกาะฟอร์คแลนด์ ท าให้ความชอบธรรมของรัฐบาลทหารตกต ่าถึงที่สุด จนไร้อ านาจต่อรอง เงื่อนไข

                       ดังกล่าวส่งผลให้รูปแบบและลักษณะการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยของสองประเทศมี

                       กระบวนการ และผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ดังจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป


                                                   เส้นทางสู่ประชาธิปไตยของชิลี

                       เกริ่นน า


                              ประเทศชิลี เข้าสู่ระบอบเผด็จการทหารเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1973 เมื่อคณะทหาร

                       (junta) น าโดยพลเอกออกุสโต พิโนเช (Augusto  Pinochet) ผู้บัญชาการทหารบก ท าการรัฐประหาร
                       รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประธานาธิบดีซัลวาดอร์ อัลเยนเด (Salvadore  Allende) ท่ามกลาง

                       ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลที่ยึดถือแนวทางสังคมนิยม กับสภา

                       คองเกรสที่มีฝ่ายอนุรักษ์นิยมคุมเสียงข้างมาก การรัฐประหารเกิดขึ้นท่ามกลางการประท้วงขับไล่

                       รัฐบาลโดยชนชั้นกลางอนุรักษ์นิยม และเจ้าของธุรกิจซึ่งต่อต้านนโยบายเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม การ

                       เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดีอัลเยนเด ได้รับแรงสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ทั้งด้วย
                       การโจมตีทางเศรษฐกิจเพื่อท าลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล และการปฏิบัติการลับเพื่อให้เกิดความ
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109