Page 102 - kpiebook62016
P. 102

85







                       ประชากรส่วนใหญ่ของอินโดนีเซียเป็นชาวมุสลิม ส่งผลให้ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม
                       กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปได้ง่าย น าไปสู่ความพยายามของกลุ่มเคร่ง

                       ศาสนาที่จะผลักดันให้กฎหมายของอินโดนีเซียสอดคล้องกับกฎหมายตามหลักศาสนาอิสลามมากขึ้น

                       โดยมีสภาอูเลมาแห่งอินโดนีเซีย (Indonesian  Ulema  Council - MUI) อันเป็นองค์กรสูงสุดของ
                                                                                              242
                       ศาสนาอิสลามที่มีสมาชิกจากทุกสมาคมชาวมุสลิมในประเทศ เป็นองค์กรขับเคลื่อน  ประเด็นที่เป็น
                       ข้อเรียกร้อง เช่น การออกกฎหมายปราบปรามสิ่งลามกอนาจาร การบังคับให้สตรีต้องปกปิดร่างกาย

                                                                    243
                       รวมถึงการเซ็นเซอร์สื่อและงานศิลปะอย่างเข้มงวด  พัฒนาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสิทธิของ
                       ประชากรส่วนน้อยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม น าไปสู่ปมปัญหาด้านสิทธิที่ขัดขวางกระบวนการพัฒนา

                       ประชาธิปไตยของอินโดนีเซีย


                              3. สื่อมวลชน

                              รายงานของ Freedom  House ระบุว่า สื่อมวลชนในอินโดนีเซียสามารถปฏิบัติงานได้โดย

                       ปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาล ใน ค.ศ. 1999 รัฐบาลได้ออกกฎหมายเพื่อรับรองการจัดตั้งสภา

                       ผู้สื่อข่าวอินโดนีเซีย (Indonesian  Press  Council) อย่างไรก็ตาม เสรีภาพในการปฏิบัติงานของ

                       สื่อมวลชนอินโดนีเซียก็ยังคงถูกจ ากัดจากปัจจัยสองประการ คือ ในด้านธุรกิจ แม้ว่าสื่อมวลชนของ
                       อินโดนีเซียจะมีความหลากหลายและเป็นอิสระ แต่พบว่ามีกรณีซึ่งกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่เป็นเจ้าของสื่อ

                       บางส านักจัดให้มีการน าเสนอข้อมูลที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มการเมืองที่กลุ่มทุนนั้นมีความเกี่ยวข้อง

                       ด้วย ดังเช่นที่ปรากฏในการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 2014 ขณะที่ในด้านกฎหมาย แม้รัฐบาลอินโดนีเซียจะไม่

                       เข้าแทรกแซงการปฏิบัติงานของสื่อมวลชน แต่การปฏิบัติงานของสื่อก็ถูกก ากับอย่างเข้มงวดด้วย
                       ข้อกฎหมายหลายฉบับ เช่น กฎหมายว่าด้วยการดูหมิ่น (defamation) ซึ่งมีการใช้เพื่อฟ้องร้องผู้ที่เปิดโปง

                       การทุจริตในหมู่ข้าราชการ และกฎหมายการหมิ่นศาสนา (blasphemy)  ซึ่งจ ากัดเสรีภาพในการ

                       วิจารณ์ศาสนา ทั้งนี้ ในรายงาน ค.ศ. 2016 องค์การ Freedom  House ได้จัดระดับเสรีภาพของ








                       242  Arskal Salim, ‚Muslim’s Politics in Indonesia’s Democratisation,‛ in Ross H. McLeod and Andrew MacIntyre (eds.),
                       Indonesia: Democracy and the Promise of Good Governance (Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2007), pp.
                       116 - 117.
                       243  Ibid., p. 122.
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107