Page 101 - kpiebook62016
P. 101

84







                       บทบาทของกลุ่มต่างๆ ในสังคม

                              1. กลุ่มธุรกิจ


                              ภาคธุรกิจเคลื่อนไหวอย่างแข็งขันในยุคการปฏิรูปหลังจากการลงจากอ านาจของประธานาธิบดี

                       ซูฮาร์โต เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ประชาธิปไตยของอินโดนีเซียได้ส่งผลโดยตรงต่อรูปแบบ
                       ความสัมพันธ์ระหว่างภาคธุรกิจและรัฐบาล โดยในยุคระเบียบใหม่นั้น การติดต่อระหว่างภาคธุรกิจกับ

                       รัฐบาลเป็นไปในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการและมักจะเป็นการให้สินบนเพื่อแลกกับผลประโยชน์จาก

                       นโยบายของรัฐ เนื่องจากรัฐกุมอ านาจเด็ดขาดในการก าหนดนโยบายและกฎเกณฑ์ต่างๆ เมื่อการ

                       ผูกขาดอ านาจดังกล่าวถูกท าลายลง โดยเฉพาะจากบทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติที่เพิ่มมากขึ้น ภาคธุรกิจ
                       จึงต้องหันมาใช้ช่องทางการเรียกร้องอย่างเป็นทางการเพื่อผลักดันประเด็นของตน โดยการรวมตัวของ

                       กลุ่มธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดได้แก่ หอการค้าและอุตสาหกรรม (Chamber  of  Commerce  and

                       Industry  –  Kadin)  รัฐบาลเปิดรับภาคธุรกิจเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจทางนโยบาย ด้วยการจัดสรร

                       พื้นที่ให้กับผู้แทนจากภาคธุรกิจในคณะที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดี และเปิดช่องทาง
                       ติดต่อสื่อสารระหว่างภาคธุรกิจและรัฐมนตรีในกระทรวงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเปิดโอกาสให้ตัวแทน

                       จากภาคธุรกิจเข้าพบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์

                       และกฎหมาย แต่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างดังกล่าวมิได้น ามาซึ่งผลทางบวกต่อภาคธุรกิจมากนัก การ

                       เพิ่มบทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติในการก าหนดทิศทางนโยบายผ่านการออกกฎหมายได้ส่งผลให้การ

                       จ่ายสินบนย้ายจากฝ่ายบริหารมาสู่ฝ่ายนิติบัญญัติ นอกจากนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นผู้ถือ
                       อ านาจในการตรากฎหมายยังมีความสนใจในประเด็นเศรษฐกิจที่ต ่า ส่งผลให้ความร่วมมือระหว่าง

                                                                      241
                       ภาคธุรกิจและรัฐบาลไม่มีผลสัมฤทธิ์อย่างมีนัยยะส าคัญ

                              2. สมาคมชาวมุสลิม


                              กลุ่มเคลื่อนไหวที่มีบทบาทส าคัญ คือสมาคมชาวมุสลิมและพรรคการเมืองของผู้เคร่งศาสนา
                       อิสลาม ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของกลุ่มดังกล่าวตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่สลับซับซ้อน แม้ว่ารัฐธรรมนูญ ค.ศ.

                       1945 จะได้ประกาศให้อินโดนีเซียเป็นรัฐที่แยกศาสนาออกจากการเมือง (secular  state) แต่การที่



                       241  Natasha Hamilton-Hart, ‚Government and Private Business,‛ in Ross H. McLeod and Andrew MacIntyre (eds.),
                       Indonesia: Democracy and the Promise of Good Governance (Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2007), p.
                       110.
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106