Page 99 - kpiebook62016
P. 99
82
การเมือง โดยพลโทยุโดโยโน ผู้บัญชาการแผนกดังกล่าว สนับสนุนการปฏิรูปด้วยการผลักดันให้
นายทหารที่ประสงค์จะด ารงต าแหน่งในหน่วยราชการพลเรือนต้องลาออกจากกองทัพ นอกจากนี้
กองทัพยังไม่แสดงการต่อต้านเมื่อมีการผ่านกฎหมายเพื่อลดจ านวนที่นั่งในสมัชชาที่ปรึกษาประชาชนลง
จนกระทั่งในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 พลเรือเอกวิดโจโจ ซุทจิปโต (Widjojo Sutjipto) ผู้บัญชาการ
ทหารสูงสุด ได้ประกาศว่ากองทัพยอมรับในหลักการควบคุมของพลเรือนเหนือทหาร (civilian
supremacy) และขอยุติบทบาทของตนเองในด้านสังคมและการเมืองของตนเอง ถือเป็นจุดจบของ
236
หลักทวิภาระที่กองทัพยึดถือมาเป็นเวลานาน โดยกองทัพได้แสดงความจริงใจต่อค าประกาศยุติการ
แทรกแซงทางการเมืองของตนเองด้วยการปฏิเสธที่จะเข้าแทรกแซงกระบวนการถอดถอนประธานาธิบดี
วาหิตโดยสมัชชาที่ปรึกษาประชาชน แม้ว่าจะมีค าขู่จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจากประธานาธิบดี
วาหิตก็ตาม
การจัดต าแหน่งแห่งที่ให้แก่กองทัพ
จุดมุ่งหมายส าคัญของการจัดต าแหน่งแห่งที่ให้แก่กองทัพหลังการก้าวลงจากต าแหน่งของ
ประธานาธิบดีซูฮาร์โต คือการลดอ านาจของกองทัพทั้งในกลไกรัฐบาลและในฝ่ายนิติบัญญัติ โดยการ
ลดบทบาทของกองทัพในรัฐบาลได้ถูกจัดการอย่างเด็ดขาดในเวลาอันรวดเร็ว ด้วยการผลักดันจาก
กลุ่มนายทหารที่สนับสนุนการปฏิรูป ซึ่งรวมถึงพลโทยุโดโยโน ผู้ที่ต่อมาได้ด ารงต าแหน่งเป็น
ประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง ได้ออกค าสั่งให้นายทหารที่รับต าแหน่งในส่วนราชการอื่น
ควบคู่ไปด้วย ต้องตัดสินใจเลือกระหว่างการลาออกจากต าแหน่งที่ตนด ารงอยู่ หรือลาออกจากการ
ประจ าการในกองทัพภายในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1999 พร้อมทั้งยังก าหนดไม่ให้นายทหารรับ
ต าแหน่งอื่นควบคู่กับอีกต่อไป โดยหนึ่งในนายทหารที่ต้องลาออกจากราชการก็คือพลโทยูโดโยโน ซึ่ง
ได้รับแต่งตั้งให้เข้าร่วมคณะรัฐมนตรีของประธานาธิบดีวาหิต
ส าหรับการลดอ านาจของกองทัพในฝ่ายนิติบัญญัติ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1998 ได้มีการ
บรรลุข้อตกลงเพื่อลดจ านวนผู้แทนจากกองทัพที่ได้รับการจัดสรรที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรลงมาที่ 38
ที่นั่ง และมีการจัดสรรที่นั่งร้อยละ 10 ของสภาท้องถิ่นให้แก่กองทัพ อย่างไรก็ตาม ความส าเร็จใน
ช่วงแรกมิได้เป็นจุดเริ่มต้นของการยอมยุติบทบาทของกองทัพในฝ่ายนิติบัญญัติอย่างสมบูรณ์ โดยใน
การเจรจาเพื่อก าหนดกรอบในการยุบเลิกการจัดสรรต าแหน่งในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อเดือนสิงหาคม
236 Harold Crouch, Political Reform in Indonesia after Soeharto, op. cit., pp. 131-134.