Page 109 - kpiebook62016
P. 109
92
ตารางที่ 4.3 ผลเลือกตั้งประธานาธิบดีชิลีวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1989
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี
ผู้สมัคร คะแนนเสียง ร้อยละ
Patricio Aylwin (Concertación) 3,850,023 55.2
Hernán Büchi (Democracy and Progress) 2,051,975 29.4
Francisco J. Errázuriz (Center-Center Union) 1,076,894 15.5
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 7,556,613 คน
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 7,158,442 คน
คิดเป็นร้อยละ 94.7
ที่มา: Dieter Nohlen, op. cit., p. 288.
ปัจจัยส าคัญที่ส่งผลให้การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยของชิลีประสบความส าเร็จ
เกิดขึ้นจากการประนีประนอมในกลุ่มพลเรือนที่เป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหาร ซึ่งได้มีการบรรลุข้อตกลง
ร่วมกันระหว่างกลุ่ม Christian Democratic ที่มีแนวทางอนุรักษ์นิยม กับกลุ่มหนึ่งในบรรดาพรรค
สังคมนิยม ที่สนับสนุนการกลับเข้าสู่ประชาธิปไตยของประเทศมากกว่าการปฏิวัติสังคมนิยม การ
ประนีประนอมที่ก้าวข้ามอุดมการณ์ซ้าย-ขวา เปิดโอกาสให้เกิดการรวมตัวเป็นพันธมิตรทางการเมือง
เพื่อต่อต้านข้อเสนอในการต่ออายุรัฐบาลทหาร และน าไปสู่ข้อตกลงสนับสนุนนายพาทริซิโอ อัลวิน ซึ่ง
เป็นตัวแทนของพรรค Christian Democratic ให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1989
252
นอกจากการประนีประนอมในหมู่นักการเมืองที่ไม่ใช่ทหารแล้ว ยังมีการประนีประนอม
ระหว่างรัฐบาลทหารและกลุ่มนักการเมืองพลเรือน ว่าจะไม่มีการเรียกร้องให้พลเอกพิโนเช ลาออกจาก
ต าแหน่งผู้บัญชาการทหารบก รวมถึงกลุ่มการเมืองพลเรือนจะยอมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ซึ่งรัฐบาล
253
ทหารได้เป็นผู้วางไว้ แม้ว่ากฎดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์ให้แก่รัฐบาลทหาร เช่นการยอมรับให้มี
วุฒิสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งเนื่องจากการด ารงต าแหน่งในกองทัพและส่วนราชการ (ผู้น าเหล่าทัพ
เป็นวุฒิสภาโดยต าแหน่ง) ซึ่งท าให้ฝ่ายทหารและกลุ่มอ านาจเก่ายังคงมีอ านาจในการยับยั้งการออก
252 Marcelo Cavarozzi, “Patterns of elite negotiation and confrontation in Argentina and Chile”, in John Higley and Richard
Gunther (eds.), Elites and Democratic Consolidation in Latin America and Southern Europe (Cambridge : Cambridge
University Press, 1992), pp. 224 – 225.
253 Ibid., p. 224.