Page 100 - kpiebook62016
P. 100

83







                       ค.ศ. 2000 กองทัพได้ร้องขอต่อสภาผู้แทนราษฎรให้มีการเลื่อนก าหนดการเปลี่ยนแปลงจาก ค.ศ.
                       2004 ไปเป็น ค.ศ. 2009 ข้อเรียกร้องดังกล่าว ก่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างกลุ่มนายทหารที่

                                                                                              237
                       สนับสนุนการปฏิรูปในกองทัพ และกลุ่มนายทหารที่ต้องการชะลอความเปลี่ยนแปลง  แต่เมื่อสมัชชา
                       ที่ปรึกษาประชาชนได้มีมติแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้สมาชิกสมัชชาที่ปรึกษาประชาชนทั้งหมดต้องมา
                                                                          238
                       จากการเลือกตั้ง กองทัพก็เลือกที่จะไม่แสดงการต่อต้านมตินี้

                              ความเปลี่ยนแปลงครั้งส าคัญในการสถาปนาการควบคุมของรัฐบาลพลเรือนเหนือกองทัพ

                       เกิดขึ้นในสมัยของประธานาธิบดียุโดโยโน ท่ามกลางปัญหาการแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดอาเจะห์

                       (Aceh)  โดยขณะที่ประธานาธิบดีเมกาวาตีปล่อยให้ผู้น าทางทหารเป็นผู้จัดการกับปัญหาในอาเจะห์

                       ด้วยความรุนแรง ประธานาธิบดียุโดโยโน ซึ่งรับผิดชอบด้านความพยายามในการเจรจาสันติภาพตั้งแต่

                       ในสมัยของประธานาธิบดีเมกาวาตี ประสงค์ที่จะแสวงหาแนวทางที่ประนีประนอมมากกว่า และเมื่อ
                       ได้เข้ารับต าแหน่งแล้ว ประธานาธิบดียุโดโยโนซึ่งได้รับความชอบธรรมอย่างมากจากการเป็ น

                       ประธานาธิบดีที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน จึงสามารถโยกย้ายนายทหารที่ขัดขวางกระบวนการ

                       สันติภาพ รวมทั้งแต่งตั้งนายทหารที่มีแนวทางเดียวกับตนเข้ารับต าแหน่งส าคัญในกองทัพ ซึ่งนอกจาก

                       จะส่งผลให้กระบวนการสันติภาพมีความคืบหน้าแล้ว ยังเป็นหมุดหมายส าคัญในการสถาปนาการ
                                                        239
                       ควบคุมกองทัพของฝ่ายพลเรือนอีกด้วย

                              ความพยายามในการปฏิรูปกองทัพและความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพกับรัฐบาลพลเรือนแม้จะ

                       ประสบความส าเร็จในหลายด้าน แต่ก็ยังคงมีปัญหาที่ส าคัญประการหนึ่งที่ยังคงค้างคาอยู่ ได้แก่

                       ปัญหาการท าธุรกิจที่ผิดกฎหมายของบุคลากรในกองทัพ แม้ว่าจะมีความพยายามที่จะตัดสายสัมพันธ์

                       ระหว่างกองทัพกับกลุ่มธุรกิจด้วยการประกาศห้ามหน่วยทหารลงทุนในธุรกิจอีกต่อไป รวมทั้งมีการยึด
                       ธุรกิจของหน่วยทหารเป็นของรัฐ แต่วิถีปฏิบัติดั้งเดิมในการใช้อิทธิพลและการข่มขู่จากบุคลากรใน

                       กองทัพเพื่อสนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านั้นยังคงปรากฏอยู่ โดยเฉพาะเมื่องบประมาณที่

                                                                                                240
                       กองทัพอินโดนีเซียได้รับเพื่อใช้ในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของก าลังพลยังคงมีจ ากัด




                       237  Damien Kingsbury, op. cit., p. 283.
                       238  Harold Crouch, Political Reform in Indonesia after Soeharto, op. cit., p. 150.
                       239
                         Ibid., pp.152 - 153.
                       240  Ibid., pp.168 – 169.
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105