Page 183 - kpiebook62016
P. 183
166
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญไนจีเรีย ค.ศ. 1999 ได้ให้ความส าคัญกับการปกครองท้องถิ่นเป็นอย่าง
มาก ไม่น้อยไปกว่ารัฐบาลกลาง เช่น มาตรา 4 กล่าวว่า
“… 4. The Government of a State shall ensure that every person who is
entitled to vote or be voted for at an election to House of Assembly shall have the
414
right to vote or be voted for at an election to a local government council. …”
ด้วยเหตุนี้ ไนจีเรียจึงยังมีการปกครองท้องถิ่นที่เข้มแข็งและเติบโตมาพร้อมกับระบบมลรัฐ 36
มลรัฐ รองรับกลุ่มชาติพันธุ์ในไนจีเรีย การกระจายอ านาจท าให้เกิดหน่วยการปกครองท้องถิ่นขนาด
ย่อยกว่า 774 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแสดงบทบาทในการดูแลปัญหาในชีวิตประจ าวันของ
ประชาชน มีสภาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น และมีการบริหารงานท้องถิ่นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม รวมไป
ถึงการมีสื่อมวลชนที่มีเสรีภาพ มีสื่อหนังสือพิมพ์เอกชนกว่า 100 ฉบับ ทั้งในระดับมลรัฐและท้องถิ่น
ข้อสังเกตคือ กลุ่มประชาสังคมไนจีเรียจัดตั้งโดยอิงตามชาติพันธุ์และศาสนา เช่น the
Organization of the Islamic Conference ที่เป็นเครือข่ายประชาสังคมมุสลิม เคลื่อนไหวในประเด็น
ทางศาสนาในภาคเหนือ ขณะที่ภาคใต้มีกลุ่มประชาสังคมที่ชื่อว่า the Christian Association of
Nigeria เช่นกัน และในภาคธุรกิจก็มีกลุ่มผลประโยชน์ เช่น the Manufacturers’ Association of
Nigeria, the Nigerian Association of Chambers of Commerce and Industry, Mine and
Agriculture และ the Association of Small Scale Industries และยังมีกลุ่มขบวนการนักศึกษาและ
415
กลุ่มสตรีในภาคประชาสังคมอยู่ด้วย
บทบาทของกองทัพ
ไนจีเรียต้องเผชิญกับปัญหาลักษณะเดียวกับประเทศประชาธิปไตยใหม่จ านวนมากคือ ปัญหา
การใช้นโยบายประชานิยมของนักการเมือง และพรรคการเมืองที่มีฐานอ านาจมาจากเผด็จการทหาร
เห็นได้ชัดในพรรคการเมืองชั้นน าของไนจีเรีย เช่น The People's Democratic Party (PDP) ซึ่งมีความ
โน้มเอียงใช้นโยบายแบบฝ่ายขวาอนุรักษ์นิยม นักการเมืองภายในพรรคส่วนใหญ่ไม่ใช่พลเรือน
หากแต่เป็นกลุ่มข้าราชการทหารที่เกษียณอายุและผันตัวเข้าสู่เวทีการเมือง และใช้อ านาจที่ยังคงมีอยู่
414
The Nigerian Constitution, 1999.
415 Paul J.Kaiser, op. cit., pp. 25-26.