Page 184 - kpiebook62016
P. 184
167
ในระบบราชการทหารเข้ามาสร้างอิทธิพลทางการเมือง ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าเป็นการเข้ามามีอิทธิพล
ของทหารในระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย และพรรคการเมืองที่ควรเป็นทางเลือกของ
นักการเมืองอาชีพกลับกลายเป็นพื้นที่ของทหาร (Militarization of political party)
ตัวอย่างที่เด่นชัดคือ ประธานาธิบดี Olusegun Obasanjo ผู้ชนะในการเลือกตั้ง ค.ศ. 2006 ก็คือ
นายพลเกษียณอายุราชการ ผู้ด ารงต าแหน่ง National Chairman คือนาย Ahmadu Ali ก็เป็นนายพล
เกษียณอายุ ต าแหน่ง National Deputy Chairman ที่เป็นของนาย Olabode George เป็นอดีตแม่ทัพเรือ
416
คือ นาย Tony Anenih อดีตผู้บัญชาการต ารวจ ด ารงต าแหน่ง Chairman of the Board of Trustees
กล่าวได้ว่าต าแหน่งส าคัญในด้านการบริหารอยู่ภายใต้การดูแลของบุคคลที่เคยมีบทบาทส าคัญในการ
ผูกขาดความรุนแรงในระบบราชการทหาร และยังคงมีอิทธิพลทางการเมืองผ่านกลไกราชการ ท าให้
นักการเมืองที่เป็นพลเรือนไม่สามารถแทรกตัวขึ้นมาท้าทายได้ แม้ว่าระบบการเมืองจะเปิดให้มีการ
เลือกตั้งตามปกติก็ตาม
ในไนจีเรีย ทหารที่ผันตัวเองมาเล่นการเมืองถือได้ว่ามีส่วนในการช่วยเสริมสร้างประชาธิปไตย
ในระดับหนึ่ง แม้ว่าจะมีปัญหาในเรื่องการคอรัปชั่นและการใช้นโยบายประชานิยม แต่ท าให้ทหาร
เหล่านี้ไม่ได้คิดที่จะท าการรัฐประหารอีกต่อไป โดยการรัฐประหารครั้งสุดท้ายของไนจีเรียเกิดขึ้นใน
ค.ศ. 1993 ท าให้เห็นว่าทหารที่ผันตัวมาเป็นนักการเมืองในระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนได้
พยายามที่จะต่อสู้ในกติกาชุดเดียวกับนักการเมืองคนอื่นๆ ผ่าน “การเลือกตั้ง” แม้ว่าในที่สุดจะมีการ
กล่าวหากันในเรื่องการใช้อิทธิพลกดดันการลงคะแนนและการนับคะแนนเลือกตั้ง หรือการซื้อสิทธิขาย
เสียง แต่ก็เป็นสิ่งที่ไนจีเรียเปิดให้มีการถกเถียงและตรวจสอบได้
การจัดต าแหน่งแห่งที่ให้แก่กองทัพ
การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในไนจีเรียมีประเด็นน่ากังวลเรื่องกองทัพและ “ทหารเก่า” ที่
ยังมีบทบาททางการเมือง อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญไนจีเรีย มาตรา 217 (2) ได้กล่าวถึงบทบาท
417
ของทหารไว้ 4 ด้านส าคัญประกอบด้วย
1) ปกป้องไนจีเรียจากการคุกคามของภัยจากภายนอก
416
Sani Musa, op. cit., p. 2.
417 The Nigerian Constitution 1999, Section 217 (2).