Page 190 - kpiebook62016
P. 190

173







                       ปรากฏว่า ประชาชนยูเครนกว่าร้อยละ 90 ต้องการเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต อิสระภาพของยูเครน
                                                                            422
                       เกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

                                                                                                     423
                              การประกาศเอกราชของยูเครนถูกวิจารณ์จากนักวิชาการ เช่น Kataryna  Wolczuk  ว่าเป็น
                       การประกาศเอกราชและการสร้างรัฐชาติแบบไร้ทิศทาง (Independence  without  vision) เพราะ

                       เกิดขึ้นท่ามกลางข้อจ ากัดในการถกเถียงถึงแนวทางรัฐธรรมนูญและการออกแบบสถาบันการเมืองว่า
                       จะให้อยู่ในลักษณะใด จนสุดท้ายการออกแบบสถาบันทางการเมืองหลังการประกาศเอกราชจึงเป็น

                       แบบลูกผสม (Hybrid) ระหว่างระบบประธานาธิบดีและระบบโซเวียต (Presidential-Soviet  system)

                       อันเป็นผลมาจากความขัดแย้งที่ร้าวลึกระหว่างกลุ่มยูเครนที่ยังนิยมโซเวียต (the Ukrainian SSR) หรือ

                       ที่เรียกว่ายูเครนตะวันออก ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษารัสเซีย นับถือศาสนาคริสต์ออร์โธดอกซ์ กับ

                       กลุ่มยูเครนอิสระ (the  Independent  Ukraine) หรือที่เรียกว่ายูเครนตะวันตก ที่นิยมความเป็นยุโรป
                       พูดภาษายูเครน นับถือคริสต์โรมันคาธอลิค ชาวยูเครนตะวันตกมีความเป็นชาตินิยมสูง และไม่

                       ไว้วางใจรัสเซียอย่างมาก ความขัดแย้งนี้มีรากลึกมาจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ และส่งผลต่อ

                       ความขัดแย้งภายในและระหว่างประเทศ ตลอดจนการวางรากฐานสถาบันการเมืองในระบอบ

                       ประชาธิปไตย

                                                              424
                              นักวิชาการ เช่น Oleh Havrylyshyn  ชี้ว่าปัญหาความไม่ลงตัวในการออกแบบสถาบัน
                       การเมืองเป็นปรากฏการณ์ร่วมกันของหลายประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต เนื่องจาก

                       รีบเร่งเป็นอิสรภาพพร้อมๆ ไปกับการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ในขณะที่ประเทศยังคงได้รับอิทธิพล

                       จากรัสเซียด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของ the Commonwealth of  Independent States  (CIS) ส่งผลให้

                       การปฏิรูปเพื่อสร้างประชาธิปไตยท าได้ล่าช้า และตกหลุมพรางของการกลายเป็นประชาธิปไตยที่มี
                       ชนชั้นน าบงการแบบอ านาจนิยม ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ และท าให้มีการปราบปรามการ

                       เคลื่อนไหวของประชาชนโดยรัฐหลายต่อหลายครั้ง




                       422  Anders Aslund, How Ukraine Became a Market Economy and Democracy (Washington, DC: Peterson Institute for
                       International Economic, 2009), p. xxiii.
                       423  Kataryna Wolczuk, The Moulding of Ukraine: The Constitutional Politics of State Formation (Budapest, Hungary: Central
                       European University Press, 2001), pp. 90-94.
                       424
                         Oleh Havrylyshyn, Diverging Paths in Post-Communist Transformation: Capitalism for All or Capitalism for the Few?
                       (York: Palgrave Macmillan, 2006).
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195