Page 191 - kpiebook62016
P. 191
174
ข้อจ ากัดในการที่หลายฝ่ายไม่มีส่วนร่วมในการออกแบบกติกา และก าหนดรูปแบบการ
ปกครองในกระบวนการถ่ายโอนอ านาจให้ประชาชน สะท้อนความขัดแย้งระหว่างยูเครนตะวันออก
และยูเครนตะวันตก และส่งผลมาถึงความขัดแย้งในวิกฤติยูเครน จนน ามาสู่การประท้วงและ
เหตุการณ์ความรุนแรงในช่วง ค.ศ. 2013-2014 ในเวลาต่อมา
การปฏิรูปรัฐธรรมนูญ
การปฏิรูปรัฐธรรมนูญและการสร้างสถาบันการเมืองของยูเครนต้องพบกับปัญหาความไม่
แน่นอนอย่างมาก การถกเถียงที่ไม่ลงตัวในเรื่องรัฐธรรมนูญในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ซึ่ง
ขณะนั้นระบบการเมืองยังมีลักษณะคาบเกี่ยวอยู่ระหว่างระบบประธานาธิบดีและระบบรัฐสภา จึงท า
ให้ยูเครนเลือกระบบการเมืองแบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-presidential system) มาใช้ ประเด็นหลัก
ในการอภิปรายเรื่องรัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่บนทางสองแพร่งว่าจะให้สถาบันใดมีอ านาจมากกว่ากัน
425
ระหว่างประธานาธิบดี และรัฐสภา ข้อถกเถียงส าคัญมีดังนี้
1) หากให้ประธานาธิบดีมีอ านาจมาก จะท าให้ยูเครนต้องเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้นใน
ประเทศหลังคอมมิวนิสต์ที่เลือกใช้ระบบประธานาธิบดี จนสุดท้ายประชาธิปไตยล่มสลาย
และกลายไปเป็นเผด็จการอ านาจนิยมในที่สุด
2) หากใช้ระบบรัฐสภาอย่างเดียว อาจน าไปสู่ความขัดแย้งในการเจรจาต่อรองของสมาชิก
สภา จนไม่สามารถบรรลุการตัดสินใจส าคัญได้ จึงเกรงว่าประเทศที่เพิ่งได้รับเอกราชและ
ช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย ระบบรัฐสภาไม่อาจจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้อย่าง
มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ
การปฏิรูปการเมืองเพื่อการเป็นประเทศอิสระจากการปกครองของสหภาพโซเวียต และเพื่อ
วางรากฐานระบบการเมืองที่น าพาประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ท าให้เกิดการร่างรัฐธรรมนูญใน
ค.ศ. 1992-1993 โดยยูเครน น าระบบการเมือง 3 รูปแบบมาปรับใช้เพื่อให้เป็นระบบการเมืองของ
426
ยูเครนเอง ดังนี้
425
Anders Aslund, op. cit., p. 239.
426 Kataryna Wolczuk, op. cit., p. 124.