Page 187 - kpiebook62016
P. 187
170
บทที่ 6
การเปลี่ยนผ่านจากระบอบคอมมิวนิสต์สู่ระบอบประชาธิปไตย
ในยุโรปตะวันออก
ในบทนี้จะศึกษาเส้นทางการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของประเทศในยุโรปตะวันออก ที่
เคยปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ภายหลังสงครามเย็นและหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
ประเทศและแคว้นจ านวนมากที่เคยอยู่ในอาณัตของสหภาพโซเวียตแยกตัวออกมาประกาศเอกราช
และแสวงหาระบอบการปกครองของตนเอง ซึ่งล้วนแล้วแต่มุ่งหน้าสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่เส้นทาง
และความส าเร็จสู่ประชาธิปไตยนั้นแตกต่างกันไป เนื้อหาในบทนี้เป็นการศึกษาการเปลี่ยนผ่านสู่
ประชาธิปไตยและการจรรโลงประชาธิปไตยใน 2 ประเทศ คือ ยูเครนและโปแลนด์ ในยูเครนนั้น การ
เปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยยังคงถูกท้าทายจากความไม่เป็นสถาบันของพรรคการเมืองและผู้น า
ทางการเมืองที่มีแบบแผนใกล้เคียงกับระบอบอ านาจนิยมที่ยอมให้มีการเลือกตั้ง (Competitive
authoritarinsim) แต่จุดแข็งของยูเครนคือ ทหารและกองทัพไม่เข้าแทรกแซงการเมือง ส่วนการเปลี่ยน
ผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในโปแลนด์ที่จุดประกายจากการประท้วงของคนงานท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจ
ตกต ่า น าไปสู่การเจรจาโต๊ะกลมจนบรรลุข้อตกลงสามฝ่าย ระหว่างแนวร่วมกลุ่ม Solidarity กลุ่ม
ศาสนาจักร และพรรคคอมมิวนิสต์ โปแลนด์ถือเป็นแบบอย่างของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยซึ่ง
มีการประนีประนอมที่ยาวนานและประสบความส าเร็จอย่างมั่นคง
เส้นทางสู่ประชาธิปไตยของยูเครน
เกริ่นน า
ยูเครน (Ukraine) เป็นประเทศในยุโรปตะวันออกที่ได้รับอิสรภาพหลังการแตกตัวของสหภาพ
โซเวียต ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991 สถานภาพของยูเครนจึงอยู่ในลักษณะประเทศหลังคอมมิวนิสต์
(Post-Communist Countries) ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายในการปกครองตัวเอง ความแตกต่าง
หลากหลายของชาติพันธุ์และอิทธิพลของรัสเซียและยุโรป ที่เป็นทั้งแรงผลักดันและฉุดรั้งการพัฒนา
ประชาธิปไตยในยูเครน ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจและการประท้วงของประชาชนในช่วง ค.ศ. 2010
เป็นต้นมา ท าให้การเมืองยูเครนและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยมีความน่าสนใจในหลายด้าน