Page 186 - kpiebook62016
P. 186
169
1) การเมืองแบบอัตลักษณ์ (Identity politics) เห็นได้จากการใช้อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์
ศาสนา เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนทางการเมืองในการหาเสียงสนับสนุนพรรคในการเลือกตั้ง
2) การเมืองแบบเงินตรา (Money politics) เห็นได้จากปัญหาในเรื่องของการคอรัปชั่นของ
รัฐบาล การแสวงหาผลประโยชน์ให้พวกพ้อง และการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง
ในประเด็นนี้ J. Shola Omotola ชี้ให้เห็นว่าการต่อสู้ของกลุ่มต่างๆ ที่กระจัดกระจายดังกล่าว
ท าให้เป้าหมายทางการเมือง เน้นที่ผลประโยชน์อันคับแคบส่วนบุคคลและผลประโยชน์จากการ
ช่วยเหลืออุปถัมภ์กันเอง (Selfish and parochial interests) และได้ส่งผลกระทบต่อกระบวนการ
เปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย เนื่องจากไม่มีการมองประโยชน์สาธารณะผ่านอุดมการณ์ทางการเมือง
และไม่มีระเบียบในการจัดองค์กรพรรคการเมืองให้เข้มแข็ง ยึดมั่นในวิถีทางแห่งประชาธิปไตยในการ
เคลื่อนไหวแข่งขันทางการเมือง ซึ่งในที่สุดแล้วจะท าให้พรรคการเมืองอ่อนแอ ไม่มีจุดยืนและไม่มีการ
พัฒนาไปสู่ความเป็นสถาบันทางการเมือง กลายเป็นพรรคส่วนตัวของบุคคลส าคัญไม่กี่คนในพรรคที่มี
บทบาทในการแข่งขันทางการเมือง
ทัศนคติต่อระบอบประชาธิปไตย
ประชาชนชาวไนจีเรียมองว่าประชาธิปไตยในประเทศของตนเองนั้นยังมีปัญหา และปัญหาที่
กลายมาเป็นสิ่งที่อาจสั่นคลอนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่ตั้งมั่น คือ ปัญหาพื้นฐานใน
ชีวิตประจ าวัน เช่น ความยากจน ปัญหาสุขอนามัย การไม่ได้รับการบริการจากภาครัฐ เป็นต้น UNDP
ได้แสดงความเห็นว่าปัจจัยส าคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยของไนจีเรีย ไม่ใช่เพียงการสร้างระบบ
การเมืองที่เข้มแข็งเท่านั้น แต่จ าเป็นต้องอาศัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human development)
420
ทั้งในเรื่องของการศึกษา คุณภาพ ทางเลือก และสิทธิมนุษยชน
แม้ว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในประเทศไนจีเรีย จะถือว่าลงหลักปักฐานได้
พอสมควรแล้ว แต่ประชาธิปไตยของไนจีเรีย ยังคงอยู่ในรูปแบบของประชาธิปไตยขั้นต ่าที่ผู้น ามาจาก
การเลือกตั้ง ประชาชนชาวไนจีเรียยังต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ความเสมอภาค และรัฐบาลที่ยึด
421
หลักนิติรัฐในการปกครองประเทศ เพื่อให้สถาบันการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอยู่รอดได้
420
Sani Musa, op. cit., p. 7.
421 Ibid., p.13