Page 206 - kpiebook62016
P. 206
189
อยู่ภายใต้การสนับสนุนของประธานาธิบดี Woodrow Wilson ของสหรัฐอเมริกา กรณีนี้ได้กลายเป็น
พันธะที่ยังด ารงอยู่ถึงปัจจุบัน ส่งผลให้โปแลนด์มีความใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา และมีนโยบาย
ต่างประเทศที่ต่อต้านรัสเซีย
การเมืองของโปแลนด์ในอดีต เปลี่ยนแปลงสลับกันไปมาระหว่างการก่อตัวของประชาธิปไตย
และการล่มสลายของประชาธิปไตย (Democratic breakdown) ภายหลังการประกาศอิสรภาพในปี
ค.ศ. 1918 ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ Gabriel Narutowicz ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
คนแรกของโปแลนด์ หลังการผ่านร่างรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 1991 และการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาใน
ค.ศ. 1992 ท่ามกลางสงครามกับรัสเซีย ประธานาธิบดี Gabriel Narutowicz ถูกลอบสังหาร ท าให้
สถานการณ์การเมืองเกิดความปั่นป่วน ระส ่าระสาย นายพล Jozef Pilsudski จึงท ารัฐประหารและ
ปกครองด้วยระบอบอ านาจนิยมกว่าทศวรรษ แม้ว่าจะมีการเปิดให้สภาเซย์ม ปฎิบัติหน้าที่ แต่ผู้มี
อ านาจในการบริหาร ตัดสินใจในกิจการทุกด้านที่แท้จริงคือนายพล Pilsudski นายพลผู้นี้ปกครอง
โปแลนด์จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1935
ในช่วงเวลาเดียวกัน การเมืองโลกเข้าสู่ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง โปแลนด์ถูกรุกรานทั้งจาก
สหภาพโซเวียตและกองทัพนาซีเยอรมัน โซเวียตและเยอรมันมีข้อตกลงลับที่จะแบ่งโปแลนด์คนละครึ่ง
446
หากยึดประเทศนี้ได้ แม้ว่าจะต้านทัพสหภาพโซเวียตได้ แต่สุดท้ายโปแลนด์ก็ต้องสูญเสียเอกราชอีก
ครั้งในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1939 ในสงครามยึดวอร์ซอ (the Siege of Warsaw) ที่นาซีเยอรมันบุก
เข้ามาถึงใจกลางของโปแลนด์ จนเกิดเป็นสนธิสัญญา Molotov-Ribbentrop Pact ซึ่งเป็นสนธิสัญญา
ทางการระหว่างนาซีเยอรมันกับสหภาพโซเวียตว่าจะไม่รุกรานกันเอง แต่จะแบ่งโปแลนด์ระหว่างกัน
(นาซีได้ภาคตะวันตก ส่วนโซเวียตได้ภาคตะวันออก รวมถึงเอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และส่วนหนึ่ง
ของโรมาเนียด้วย) รัฐบาลของโปแลนด์ได้ลี้ภัยไปอังกฤษและตั้งรัฐบาลผลัดถิ่นในการต่อต้านการ
ยึดครองดังกล่าว
ภายใต้การยึดครองของนาซีและสหภาพโซเวียต โปแลนด์ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการ
ฆ่าล้างเผาพันธุ์ชาวยิวในค่ายกักกัน เช่น Auschwitz, Treblinka, Majdanek และอื่นๆ การสังหารหมู่
ชาวยิวเป็นสาเหตุให้ชาวโปแลนด์เสียชีวิตไปกว่า 3 ล้านคน ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เกิด
446
Tim Lambert, “A Short History of Poland,” Local histories [online], August 14, 2016, Available from
http://www.localhistories.org/ poland.html.