Page 43 - kpiebook62016
P. 43

26







                       ของระบอบเผด็จการนาซีที่ท าลายความพยายามสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในเยอรมนีในช่วง
                                                                                   63
                       ทศวรรษที่ 1930  ด้วยแนวคิด Militant democracy นี้ Alex Kirshner  เสนอประเด็นทางสองแพร่ง
                                     62
                       ในการปกป้องระบอบประชาธิปไตยอย่างเข้มข้นจากพวกนิยมความสุดโต่ง คือการยืนหยัดใน

                       ประชาธิปไตย โดยหลักการแล้วย่อมต้องยอมให้กลุ่มคนที่อาจไม่เคารพยึดถือประชาธิปไตยใช้สิทธิใน

                       ฐานะพลเมืองที่จะแสดงออกและมีส่วนร่วมทางการเมือง แม้การแสดงออกดังกล่าวจะหมายถึงการ
                       ปฏิเสธระบอบประชาธิปไตย ความสุดโต่งของกลุ่มคนที่ไม่ยึดถือประชาธิปไตยอาจท าให้สถาบันใน

                       ระบอบประชาธิปไตยต้องพังทะลายล่มสลายลง ขณะเดียวกันหากเราสร้างกฎเกณฑ์กีดกันการมี

                       ส่วนร่วมไม่ให้คนกลุ่มนี้แสดงออกหรือมีพื้นที่ในระบบการเมือง ก็เท่ากับไม่เคารพหลักการพื้นฐานของ

                       ประชาธิปไตย นับว่าเป็นการปกป้องประชาธิปไตยแบบสุดโต่งที่ส่งผลทางลบในอีกด้านเช่นกัน ด้วย
                       ความย้อนแย้งของระบอบประชาธิปไตยดังกล่าวนี้เอง หากระบบการเมืองไม่มีกลไกทางกฎหมายและ

                       รัฐธรรมนูญที่เข้มแข็ง ระบบนั้นจะสุ่มเสี่ยงต่อการสร้างความอ่อนแอของระบอบประชาธิปไตยในตัวเอง

                       ปรากฏการณ์ปัจจุบันในสหรัฐอเมริกาเป็นภาพสะท้อนที่ดีของความจ าเป็นที่ระบบการเมืองต้องมี

                       แนวคิด Militant  democracy  ที่จะต่อสู้กับการกระท าที่ขัดแย้งต่อหลักการประชาธิปไตย ด้วยหลัก

                       กฎหมายและการตรวจสอบ ถ่วงดุลด้วยรัฐธรรมนูญที่มีประสิทธิภาพ


                       หลุมพรางของระบอบลูกผสมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย (The Non-Democratic Hybrid Regimes)

                              การเปลี่ยนแปลงจากอ านาจนิยมหรือเผด็จการไปสู่อีกระบอบหนึ่ง ไม่ได้จบลงที่ประชาธิปไตย

                       เสมอไป แต่หลายประเทศกลายเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีค าคุณศัพท์ต่อท้าย เช่น ประชาธิปไตย

                       ครึ่งใบ (Semi-Democracy) ประชาธิปไตยแบบชี้น า (Guided  Democracy) ประชาธิปไตยอ านาจ
                       นิยม (Authoritative   Democracy) รวมถึง ระบอบอ านาจนิยมที่มีการแข่งขัน (Competitive

                                      64
                       Authoritarianism)  การท าความเข้าใจการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย นอกจากจะต้องเข้าใจ
                       คุณสมบัติของประชาธิปไตยว่า มีหน้าตา องค์ประกอบอะไรบ้าง ยังต้องท าความเข้าใจด้วยว่า ความ

                       ไม่เป็นประชาธิปไตยคืออะไร เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนว่าเมื่อภายหลังการเปลี่ยนผ่านสิ้นสุดลงแล้ว



                       62  Svetlana Tyulkina, Militant Democracy: Undemocratic political parties and beyond (London and New York: Routledge,
                       2015), p. 13.
                       63 Alexander S. Kirshner, op. cit.
                       64
                         David Collier and Steven Levitsky, “Democracy with Adjectives: Conceptual Innovation in Comparative,” World Politics
                       vol. 49, no. 3 (April 1997): 430-451, DOI: https://doi.org/10.1353/wp.1997.0009.
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48