Page 68 - kpiebook62016
P. 68
51
บทบาทของกองทัพ
ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1987 กองทัพได้ถูกก าหนดให้มีความเป็นกลาง
137
ทางการเมือง ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับบทบาทที่กว้างขวางของกองทัพในรัฐบาลก่อนหน้า ทั้งนี้
แม้ว่ากองทัพจะเป็นหนึ่งในองค์กรที่ถูกเปลี่ยนแปลงอย่างมากหลังจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่
ประชาธิปไตยใน ค.ศ. 1987 กองทัพกลับยอมจ านนต่อความพยายามสถาปนาการควบคุมโดยรัฐบาล
พลเรือนเหนือกองทัพ ปัจจัยส าคัญประการหนึ่งที่ส่งผลให้กองทัพไม่เคลื่อนไหวต่อต้านความ
เปลี่ยนแปลงที่รัฐบาลพลเรือนเป็นผู้ผลักดัน คือการที่รัฐบาลได้พยายามจ ากัดขนาดของการปฏิรูป
กองทัพไว้ที่การจัดการกับผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มขั้วอ านาจเก่าผ่านการโยกย้ายและกดดันให้
นายทหารระดับสูงบางคนต้องเกษียณอายุราชการ ขณะเดียวกันรัฐบาลได้เลือกที่จะรักษากองทัพใน
138
ฐานะสถาบันไว้ ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปที่ไม่เป็นการผลักดันให้รัฐบาล
เป็นปรปักษ์กับกองทัพ
การจัดต าแหน่งแห่งที่ให้แก่กองทัพ
การจัดต าแหน่งแห่งที่ให้แก่กองทัพหลังกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยของเกาหลีใต้มี
เป้าหมายเพื่อให้กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือนโดยสมบูรณ์ โดยเริ่มจากในสมัยของ
ประธานาธิบดีโรห์ แท-วู ซึ่งได้โยกย้ายนายทหารที่มีความใกล้ชิดกับอดีตประธานาธิบดีชุน ดู-ฮวาน
รวมถึงด าเนินคดีทุจริตกับกลุ่มผู้ใกล้ชิดกับอดีตประธานาธิบดีชุน ดู-ฮวาน นอกจากนี้ ประธานาธิบดี
โรห์ แท- วู ยังลดขนาดและภารกิจในการสอดแนมภายในประเทศของกองบัญชาการรักษาความมั่นคง
139
ซึ่งเป็นฐานอ านาจเดิมของอดีตประธานาธิบดีชุน ดู-ฮวาน
การปฏิรูปกองทัพยิ่งเข้มข้นขึ้นเมื่อนายคิม ยอง-ซาม ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีใน ค.ศ.
1993 โดยคิม ยอง-ซาม ได้อาศัยช่วงเวลาที่กองทัพก าลังประสบปัญหาความแตกแยกภายใน ผลักดัน
ให้มีการแต่งตั้งนายทหารจากหน่วยทหารในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ เข้ารับต าแหน่งระดับสูง
แทนที่นายทหารจากที่ตั้งในพื้นที่ภาคตะวันออกที่มีความใกล้ชิดกับอดีตประธานาธิบดีชุน ดู-ฮวาน
และอดีตประธานาธิบดีโรห์ แท-วู นอกจากนี้ ประธานาธิบดีคิม ยอง-ซาม ยังได้ประกาศปลดนายทหาร
137 Constitution of the Republic of Korea, Article 5.
138
Yong Cheol Kim, R. William Liddle and Salim Said, op. cit., pp. 255-256.
139 Ibid., p. 253.