Page 73 - kpiebook62016
P. 73

56







                       เรียกร้องให้พรรคการเมืองไม่ส่งบุคคลเหล่านั้นลงสมัครรับเลือกตั้ง และให้การสนับสนุนคู่แข่งของ
                       บุคคลเหล่านั้นหากพรรคการเมืองยังคงยืนยันจะส่งบุคคลเหล่านั้นลงสมัครรับเลือกตั้ง  อีกปฏิบัติการ

                       หนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากเครือข่ายประชาสังคมคือ การตรวจสอบโครงการภาครัฐ

                       โดยเฉพาะในประเด็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโครงการภาครัฐ เช่น การเรียกร้องให้มีการ

                       ตรวจสอบและย้ายสถานที่ทิ้งของเสียปรมาณูจากเมืองพูอาน (Pu-an) ซึ่งถูกก าหนดให้เป็นที่ทิ้งของเสีย
                       ปรมาณูโดยไม่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ โดยได้ด าเนินการกว่า 3 ปี ระหว่าง

                       ค.ศ. 2003–2005 เพื่อให้มีการท าประชามติต้านการสร้างที่ทิ้งของเสียปรมาณูในพื้นที่ดังกล่าว และ

                       ค ามั่นสัญญาจากประธานาธิบดีโรห์ มู-ฮยุน ว่าจะท าให้โครงการภาครัฐมีความโปร่งใส และเปิดรับฟัง

                       การมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนมากขึ้น


                              จะเห็นได้ว่า ภาคประชาสังคมของเกาหลีใต้แสดงบทบาทที่เข้มแข็งทั้งในการผลักดันให้เกิด
                                                 154
                                                                                            155
                       การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย  และในการจรรโลงระบอบประชาธิปไตยให้ตั้งมั่น
                              3. ผู้ใช้แรงงาน


                              ผู้ใช้แรงงานเป็นส่วนย่อยในเครือข่ายประชาสังคมของเกาหลีใต้ที่มีความเคลื่อนไหวอย่างแข็งขัน

                       เนื่องจากนโยบายที่เน้นการพัฒนาซึ่งด าเนินมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีปัก จุงฮี ได้
                       ส่งผลให้เกิดปัญหาการกดขี่แรงงานอย่างรุนแรงจากการตัดค่าแรงเพื่อเพิ่มผลก าไร  ทั้งนี้ ความไม่
                                                                                              156
                       พอใจดังกล่าวถูกซ ้าเติมด้วยการจ ากัดกิจกรรมทางการเมืองในสมัยประธานาธิบดีชุน ดู-ฮวาน ซึ่งห้าม

                                                           157
                       การเคลื่อนไหวเรียกร้องของสหภาพแรงงาน  กลุ่มผู้ใช้แรงงานจึงกลายเป็นก าลังส าคัญของขบวนการ
                       ต่อต้านรัฐบาลในทศวรรษที่ 1980 ความไม่พอใจดังกล่าวได้ขยายกว้างขึ้น หลังจากที่ประธานาธิบดี
                       โรห์ แท-วู ได้ประกาศหลัก 8 ประการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและผ่อนคลายการควบคุมกิจกรรม

                       ทางการเมืองของรัฐบาล ส่งผลให้เกิดการประท้วงกว่า 4,000 ครั้ง ภายในช่วงเวลา 3 เดือนถัดมา






                       154  Ibid., pp. 59-67.
                       155  Jennifer S. Oh, ‚Strong State and Strong Civil Society in Contemporary South Korea Challenges to Democratic
                       Governance,‛ Asian Survey vol. 52, no. 3 (May/June 2012): 541.
                       156  Olli Hellmann, op. cit., p. 36.
                       157
                         Su-Hoon Lee, ‚Transitional Politics of Korea, 1987-1992: Activation of Civil Society,‛ Pacific Affairs vol. 66, no. 3
                       (Autumn, 1993): 353.
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78