Page 72 - kpiebook62016
P. 72

55







                       การเมืองหลังจากการกวาดล้างครั้งใหญ่ใน ค.ศ. 1980 โดยมีการปล่อยตัวอาจารย์และนักศึกษา
                       มหาวิทยาลัยที่ถูกจับกุมระหว่างการกวาดล้าง ลดการตรวจตราการเรียนการสอนในสถานศึกษา

                                                                                             151
                       รวมถึงอนุญาตให้มีการจัดกิจกรรมทางการเมือง ด้วยหวังจะเพิ่มความนิยมในรัฐบาล   การผ่อนคลาย
                       ดังกล่าวน าไปสู่การก่อตั้งกลุ่มประชาสังคม เช่น แนวร่วมนักศึกษาแห่งชาติเพื่อการเรียกร้อง

                       ประชาธิปไตย (National Student Coalition for Democratic Struggle) สภาสวัสดิการแรงงานเกาหลี
                       (Korean Council for Labor Welfare) กลุ่มนักบวชคาธอลิกแห่งชาติเพื่อความเป็นธรรม (National

                       Catholic Priests’ Corps for Realization of Justice) ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1985 ได้มีการรวมกลุ่ม

                       ของภาคประชาสังคมทั้งกลุ่มนักศึกษา ผู้ใช้แรงงาน ปัญญาชน ชนชั้นกลาง รวมถึงกลุ่มผู้นับถือศาสนา

                       ต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและการรวมชาติ (People’s
                       Movement Coalition for Democracy and Reunification) กลายเป็นกลุ่มภาคประชาสังคมขนาดใหญ่

                       ที่มีความหลากหลาย และได้ท้าทายรัฐบาลด้วยการรณรงค์สนับสนุนพรรค  Reunification  Democratic

                       ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติใน ค.ศ. 1985 จนพรรครัฐบาลเกือบจะ

                       สูญเสียการควบคุมเสียงข้างมากในสมัชชาแห่งชาติไป และใน ค.ศ. 1987 กลุ่มภาคประชาสังคมได้

                       ระดมมวลชนเพื่อการเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีผู้เข้าร่วมนับล้านคน
                                                                152
                       น าไปสู่การตัดสินใจยอมแก้ไขรัฐธรรมนูญในที่สุด

                              หลังการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย กลับปรากฏว่าพรรคการเมืองฝ่ายค้านและพรรค

                       รัฐบาลประสบความส าเร็จในการประนีประนอมและรวมพรรค ส่งผลให้ภาคประชาสังคมกลายเป็น

                       กลุ่มหลักในการผลักดันการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศ เช่น การเรียกร้องให้มีการด าเนินคดีต่อ
                       ผู้ก่อการรัฐประหารเมื่อ ค.ศ. 1980 และการเรียกร้องให้มีการด าเนินคดีกับประธานาธิบดีโรห์ แท-วู ใน

                                 153
                       ข้อหาทุจริต  แม้ว่าการปฏิรูปการเมืองอย่างกว้างขวางในสมัยประธานาธิบดี คิม ยอง-ซามจะส่งผล
                       ให้การเคลื่อนไหวของเครือข่ายประชาสังคมลดลง  แต่ภาคประชาสังคมก็ได้หันไปผลักดันประเด็น

                       ทางการเมืองอื่นๆ เช่น การเรียกร้องความเป็นธรรมทางสังคม โดยเฉพาะด้านสวัสดิการของผู้ใช้

                       แรงงาน การติดตามการเลือกตั้ง การตรวจสอบนักการเมือง และการก าจัดการผูกขาดของกลุ่มทุน
                       ขนาดใหญ่ โดยใน ค.ศ. 2000 ภาคประชาสังคมได้จัดท ารายชื่อนักการเมืองที่มีประวัติการทุจริตเพื่อ



                       151  Sunhyuk Kim, ‚Civil Society and Democratization in South Korea,‛ in Charles K. Armstrong (ed.), op. cit., p. 54.
                       152
                         Ibid., pp. 55-57.
                       153  Ibid., p. 60.
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77