Page 69 - kpiebook62016
P. 69

52







                       จ านวนมากที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการยึดอ านาจของอดีตประธานาธิบดีชุน ดู-ฮวาน เมื่อวันที่ 12
                       ธันวาคม ค.ศ. 1979 และให้ด าเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการปราบปรามการลุกฮือที่เมืองกวางจู ส่งผล

                                                                                                       140
                       ให้ทั้งอดีตประธานาธิบดีชุน ดู-ฮวาน และอดีตประธานาธิบดีโรห์ แท-วู ถูกตัดสินให้รับโทษจ าคุก

                              การสถาปนาการควบคุมของพลเรือนเหนือกองทัพได้รับการวางรากฐานอย่างแน่นหนาใน

                       สมัยของประธานาธิบดีคิม แด-จุง ใน ค.ศ. 1998 โดยขณะที่ประธานาธิบดีคิม ยอง-ซาม ลดอิทธิพล
                       ของกลุ่มอ านาจเก่าและด าเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนร่วมในการยึดอ านาจของประธานาธิบดีชุน ดู- ฮวาน

                       การกระท าดังกล่าวได้ส่งผลให้เกิดความแตกแยกในกองทัพและขวัญก าลังใจของทหารตกต ่าลง

                       ประธานาธิบดีคิม แด-จุง สัญญาที่จะยุติการแบ่งแยกในกองทัพและจะเปลี่ยนระบบการเลื่อนต าแหน่ง

                       ไปอิงจากมาตรฐานอาชีพโดยสมบูรณ์ ซึ่งรวมถึงการยกเลิกการแบ่งแยกผู้ที่เคยมีส่วนในการยึดอ านาจ

                       ของอดีตประธานาธิบดีชุน ดู-ฮวาน ความเปลี่ยนแปลงในนโยบายดังกล่าวส่งผลให้กองทัพเกาหลีใต้
                                                               141
                       พัฒนาไปสู่ความเป็นกองทัพมืออาชีพมากยิ่งขึ้น

                       บทบาทของกลุ่มต่างๆ ในสังคม


                              1. พรรคการเมือง


                              ในช่วงแรกของการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของเกาหลีใต้ ในปลายทศวรรษที่ 1980 พรรค
                       การเมืองของเกาหลีใต้ยังคงมีความอ่อนแอ เนื่องจากฐานการสนับสนุนของประชาชนยังผูกโยงอยู่กับ

                       ตัวบุคคลมากกว่าพรรคการเมือง จากการที่ผู้น าทางการเมืองหลังการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย

                       เป็นบุคคลที่มีเครือข่ายส่วนตัวกว้างขวาง ประกอบกับการด าเนินนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่าง

                       แข็งกร้าวและต่อเนื่อง ส่งผลให้มวลชน เช่น ผู้ใช้แรงงาน ไม่สามารถรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งพรรคการเมือง
                         142
                       ได้  พรรคการเมืองในยุคต้นของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยจึงมีลักษณะเป็นพรรคที่ท าหน้าที่
                                                              143
                       รองรับกลุ่มชนชั้นน า (cadre  party) เป็นหลัก  โดยช่วงเวลาดังกล่าวได้ถูกเรียกว่าเป็นยุค “สามคิม”
                       (three  Kims) เนื่องจากพรรคการเมืองที่มีฐานเสียงที่เข้มแข็งที่สุด 3 พรรค ล้วนมีหัวหน้าพรรคที่มี

                       นามสกุลคิม (Kim)  ทั้งสิ้น ได้แก่ นายคิม ยอง-ซาม หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านเดิม ซึ่งได้รวมพรรค



                       140  Ibid., pp. 255 – 256.
                       141  Ibid., pp. 256 – 257.
                       142
                         Olli Hellmann, Political Parties and Electoral Strategy (New York: Palgrave MacMillan, 2011), p. 38.
                       143  Ibid., p. 34.
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74