Page 88 - kpiebook62016
P. 88
71
2004 พลเอกยุโดโยโน ได้เข้าพิธีสาบานตนรับต าแหน่งและเป็นประธานาธิบดีคนแรกในประวัติศาสตร์
ของอินโดนีเซียที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน นับเป็นพัฒนาการอย่างก้าวกระโดด ที่
อินโดนีเซียได้เปลี่ยนผ่านจากระบอบอ านาจนิยมทหารอันยาวนานภายใต้ประธานาธิบดีซูฮาร์โต
การปฏิรูปรัฐธรรมนูญ
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย อินโดนีเซียเลือกที่จะ
แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แทนที่จะยกเลิกแล้วร่างใหม่ทั้งฉบับ จึงท าให้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของ
อินโดนีเซียคือรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1945 ที่ใช้มาโดยตลอดตั้งแต่ประกาศเอกราช (ยกเว้นในช่วงเวลา
ระหว่าง ค.ศ. 1949 ถึง ค.ศ. 1959 ซึ่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ.1949 และรัฐธรรมนูญ
ฉบับชั่วคราว ค.ศ. 1950) ประธานาธิบดีฮาบิบี ตระหนักในความล้าสมัยไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ
การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของรัฐธรรมนูญที่ใช้มาอย่างยาวนาน เมื่อเข้ารับต าแหน่งหลังการ
ลาออกของประธานาธิบดีซูฮาร์โต จึงเริ่มกระบวนการปูทางไปสู่การปฏิรูปรัฐธรรมนูญและพัฒนา
ประชาธิปไตย ด้วยการยกเลิกข้อห้ามแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ถูกก าหนดขึ้นในสมัยประธานาธิบดีซูฮาร์โต
และให้อ านาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญกลับไปเป็นของสมัชชาที่ปรึกษาประชาชน ตามมาตรา 37 แห่ง
196
รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1945
หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน ค.ศ. 1999 กระบวนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ได้เริ่ม
ขึ้นอย่างเป็นทางการ กระทั่งปัจจุบัน รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1945 ได้รับการแก้ไข 4 ครั้ง ระหว่าง ค.ศ. 1999
ถึง ค.ศ. 2002 การแก้ไขครั้งแรกใช้เวลาเพียง 14 วัน คือระหว่างวันที่ 6 ถึง 19 ตุลาคม ค.ศ.1999 โดย
การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ (Ad hoc Committee – PAH) ที่มาจากตัวแทนพรรคการเมืองในสภา
197
ผู้แทนราษฎร ท าการศึกษาและจัดท าข้อเสนอในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยสมัชชาที่ปรึกษา
ประชาชนมีมติอนุมัติบทแก้ไขรัฐธรรมนูญ การแก้ไขครั้งที่สอง เกิดขึ้นระหว่างสมัยประชุม ค.ศ. 2000
ขณะที่การแก้ไขครั้งที่สามในสมัยประชุม ค.ศ. 2001 เกิดขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดระหว่าง
ประธานาธิบดีวาหิตกับสมัชชาที่ปรึกษาประชาชน และการแก้ไขครั้งที่สี่เกิดขึ้นในสมัยประชุม ค.ศ. 2002
195 Aris Anata, Evi Nurvidya Arifin and Leo Suryadinata, op. cit., p. 121.
196 Denny Indrayana, op. cit., pp. 108 – 109.
197 Andrew Ellis, ‚Indonesia’s Constitutional Change Reviewed,‛ in Ross H. McLeod and Andrew MacIntyre (eds.),
Indonesia: Democracy and the Promise of Good Governance (Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2007), p.
25.