Page 91 - kpiebook62016
P. 91

74







                       ประธานาธิบดีโดยตรงครั้งแรกใน ค.ศ. 2004 จนถึงปัจจุบัน  (2017) มีประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกตั้ง
                       โดยตรง 2 คน ได้แก่ ประธานาธิบดีซุสซีลิโอ บัมบัง ยุโดโยโน ที่ได้รับเลือกตั้งใน ค.ศ. 2004 และ

                       ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด (Joko Widodo) ที่ได้รับเลือกตั้งใน ค.ศ. 2014


                              ส าหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่มีจ านวนทั้งสิ้น 560 คน เป็นการเลือกตั้งระบบ

                       สัดส่วน โดยใช้ระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิด (open  list) คะแนนที่เลือกผู้สมัครจะนับเป็นคะแนนให้แก่
                       พรรคการเมืองที่ผู้สมัครลงแข่งด้วย การจัดสรรที่นั่งท าโดยการน าบัตรดีทั้งหมดหารด้วยจ านวน

                       ผู้แทนราษฎรในเขตดังกล่าว ก าหนดขึ้นเป็นโควตา และน าโควตาที่ได้หารด้วยจ านวนคะแนนเสียงที่

                       แต่ละพรรคได้รับเป็นจ านวนผู้แทนราษฎรที่พรรคดังกล่าวจะได้รับจัดสรร โดยเรียงตามล าดับคะแนนที่

                                                   205
                       ผู้สมัครแต่ละคนของพรรคได้รับ  ทั้งนี้ ระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นผลจากการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
                                                                                                          206
                       หลายครั้ง จากข้อวิจารณ์ว่าระบบการเลือกตั้งไม่สะท้อนเจตนารมย์ที่แท้จริงของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง

                              ข้อวิจารณ์ส าคัญคือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ค.ศ. 1999 ใช้ระบบบัญชีรายชื่อ
                       แบบปิด (close list) ส่งผลให้อ านาจในการเลือกผู้สมัครเป็นของพรรคการเมืองและท าให้ผู้แทนราษฎร

                       มีความห่างเหินกับท้องที่ของตนเอง ขณะที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ค.ศ. 2004 มีการ

                       น าระบบรายชื่อแบบเปิดมาร่วมใช้เป็นครั้งแรก และได้ก าหนดให้ผู้ที่จะลงคะแนนให้ผู้สมัครเป็น

                       รายบุคคลต้องลงคะแนนให้พรรคด้วย แต่ผู้ที่ลงคะแนนให้พรรคไม่จ าเป็นต้องลงคะแนนให้ผู้สมัคร
                       ส่งผลให้มีผู้สมัครเพียง 2 คนที่จะได้รับเลือกตั้งจากรายชื่อแบบเปิด น าไปสู่แรงกดดันให้มีการ

                       เปลี่ยนแปลงกฎหมายการเลือกตั้งอีกครั้ง ซึ่งกฎหมายฉบับแก้ไขก็ยังคงก าหนดให้ผู้สมัครต้องได้

                       คะแนนสูงถึงร้อยละ 30 ของโควตาในพื้นที่นั้นจึงจะได้รับการจัดสรรที่นั่ง กระทั่งมีการร้องเรียนไปยัง

                       ศาลรัฐธรรมนูญ ท าให้ศาลรัฐธรรมนูญมีค าสั่งให้จัดสรรที่นั่งแก่ผู้สมัครตามล าดับคะแนนที่ผู้สมัคร
                                       207
                       ได้รับเช่นในปัจจุบัน




                       205  Ibid.

                       206  Andreas Ufen, The legislative and presidential elections in Indonesia in 2009, Electoral Studies 29 (2010): 282 – 283,
                       doi:10.1016/j.electstud.2010.02.003.
                       207  Stephen Sherlock, Indonesia’s 2009 Elections: The New Electoral System and the Competing Parties, CDI Policy Papers
                       on Political Governance [online], January 15, 2017, Available from
                       http://archives.cap.anu.edu.au/cdi_anu_edu_au/.IND/2008-
                       09/D_P/2009_03_RES_PPS6_INDON_Sherlock/2009_04_PPS6_INDON_Sherlock.pdf.
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96