Page 89 - kpiebook62016
P. 89
72
เป้าหมายของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ คือ เพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ
โดยเฉพาะสภาผู้แทนราษฎรและควบคุมอ านาจของฝ่ายบริหารเพื่อป้องกันการผูกขาดอ านาจเช่นที่
198
เกิดขึ้นในสมัยประธานาธิบดีซูฮาร์โต โดยมีการยกเลิกอ านาจการตรากฎหมายของประธานาธิบดีให้
ท าได้เพียงส่งร่างกฎหมายให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้พิจารณา นอกจากนี้บทแก้ไขรัฐธรรมนูญยังให้
อ านาจแก่สภาผู้แทนราษฎรในการให้ค าปรึกษาแก่ประธานาธิบดีในการพิจารณาให้อภัยโทษ และ
199
แต่งตั้งผู้แทนทางการทูต และเพื่อเป็นการป้องกันการสืบทอดอ านาจอย่างยาวนาน จึงก าหนดมิให้
ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีด ารงต าแหน่งมากกว่า 2 วาระ และให้คงระยะเวลาในการด ารง
200
ต าแหน่งวาระละ 5 ปี ทั้งนี้ ประเด็นในการปฏิรูปได้รับการขยายให้กว้างขึ้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ครั้งที่ 2 ด้วยการรับรองหลักการกระจายอ านาจไปยังท้องถิ่นและรับรองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเพิ่ม
อ านาจการตรากฎหมายให้กับสภาผู้แทนราษฎรด้วยการระบุว่าสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิในการ
ประกาศใช้กฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดี แม้จะไม่มีการลงนามรับรองร่าง
201
กฎหมายนั้นภายใน 30 วัน
ขณะที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ครั้งแรกให้ความส าคัญกับการเพิ่มเติมเนื้อหาเดิมของ
รัฐธรรมนูญ เช่น การเพิ่มอ านาจการตรวจสอบถ่วงดุลของฝ่ายนิติบัญญัติ และการเพิ่มบทบัญญัติที่ว่า
ด้วยการรับรองสิทธิมนุษยชน ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 กลับเป็นการแก้ไขที่เน้น
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาบันทางการเมือง ทั้งนี้ ในระหว่างกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 3
เกิดเหตุการณ์ส าคัญขึ้น คือสมัชชาที่ปรึกษาประชาชนมีมติถอดถอนประธานาธิบดีวาหิต ออกจาก
ต าแหน่ง ความคลุมเครือในกระบวนการถอดถอนจากการที่รัฐธรรมนูญมิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการ
ถอดถอนไว้ ท าให้มีการผลักดันจากพรรคการเมืองให้มีการระบุเงื่อนไข กระบวนการ และขั้นตอนใน
การถอดถอนประธานาธิบดีลงในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะจากพรรคของประธานาธิบดีเมกาวาตี ซึ่งเกรง
202
ว่าอาจจะเกิดการรวบรวมเสียงเพื่อถอดถอนนางเมกาวาตีเช่นกัน นอกจากนี้ การแก้ไขในครั้งนี้ยังมี
198 Todung Mulya Lubis, ‚Constitutional Reforms,‛ in Hadi Soesastro, Anthony L. Smoth, and Han Mui Ling (eds.),
Governance in Indonesia: Challenges Facing the Megawati Presidency (Singapore: Institute of Southeast Asian Studies,
2003), pp. 107 – 108.
199 Denny Indrayana, op. cit., pp. 132 – 134.
200 Harold Crouch, Political Reform in Indonesia after Soeharto, op. cit., p. 54.
201
Denny Indrayana, op. cit., p. 169.
202 Harold Crouch, Political Reform in Indonesia after Soeharto, op. cit., p. 55.