Page 90 - kpiebook62016
P. 90

73







                       การจัดตั้งสภาผู้แทนภูมิภาคขึ้นเป็นสภาที่สองของฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง ควบคู่กับสภา
                       ผู้แทนราษฎร ขณะที่ในฝ่ายตุลาการ มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้มีสถานะเทียบเท่ากับศาลฎีกา

                       และจัดตั้งคณะกรรมาธิการตุลาการ (judicial  commission) เพื่อตรวจสอบการท างานของฝ่ายตุลาการ

                       ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 4 มีการขยายความบทแก้ไขเพิ่มเติมด้วยการเพิ่มข้อก าหนดให้มีการ

                       เลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ 2 ในกรณีที่ไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ
                       เลือกตั้ง  พร้อมทั้งระบุให้สมัชชาที่ปรึกษาประชาชนประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและสภาผู้แทน

                       ภูมิภาคเท่านั้น ส่งผลให้สมาชิกสมัชชาที่ปรึกษาประชาชนมาจากการเลือกตั้งโดยสมบูรณ์ นอกจากนี้

                       ยังแก้ไขบทบัญญัติว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยก าหนดให้การยื่นญัตติเพื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ

                       สามารถท าได้ด้วยการสนับสนุนจากสมาชิก 1 ใน 3 และต้องได้เสียงเห็นชอบจากสมาชิกครึ่งหนึ่งของ
                       สมัชชาที่ปรึกษาประชาชนเมื่อมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 เข้าร่วมประชุม ซึ่งท าให้การแก้ไข

                       รัฐธรรมนูญท าได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมที่ต้องใช้เสียงถึง 2 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดเมื่อสมาชิกไม่น้อยกว่า 2

                                                                                                          203
                       ใน 3 เข้าประชุม ขณะเดียวกัน ได้ห้ามมิให้แก้ไขมาตราที่ก าหนดว่าสาธารณรัฐอินโดนีซียเป็นรัฐเดี่ยว

                       การออกแบบสถาบันการเมือง


                              1. ระบบเลือกตั้ง

                              ดังได้กล่าวแล้วว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นการเลือกตั้ง

                       โดยตรงจากประชาชน  นับคะแนนสองรอบ หากไม่มีผู้สมัครได้เสียงเกินครึ่ง โดยพรรคการเมืองหรือ

                       กลุ่มพันธมิตรของพรรคการเมือง (coalition)  ที่มีสมาชิกได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่

                       น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจ านวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด หรือได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า
                       ร้อยละ 25 ของคะแนนเสียงทั้งหมดในการเลือกตั้งที่จัดขึ้นในปีเดียวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดี

                                                                                                           204
                       เท่านั้น จึงจะสามารถเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้
                       ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง และได้รับคะแนนเสียงมากกว่า

                       ร้อยละ 20 ใน 17 จังหวัดของประเทศ จะได้ด ารงต าแหน่งประธานาธิบดี นับตั้งแต่การเลือกตั้ง




                       203  Denny Indrayana, op. cit., p. 236.
                       204  Vikram Nehru and Nadia Bulkin, How Indonesia’s 2014 Elections Will Work, Carnegie’s Endowment for International
                       Peace [online], January 15, 2017, Available from http://carnegieendowment.org/2013/10/24/how-indonesia-s-2014-
                       elections-will-work-pub-53416.
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95