Page 93 - kpiebook62016
P. 93
76
ประชาชน ท าให้สถาบันประธานาธิบดีมีความชอบธรรมสูงขึ้น ขณะเดียวกันสมัชชาที่ปรึกษาประชาชน
ได้ลดอ านาจตนเองด้วยการประกาศในรัฐธรรมนูญว่า สมัชชาที่ปรึกษาประชาชนมิใช่ตัวแทนสูงสุด
ของอ านาจอธิปไตยดังเช่นที่ระบุในรัฐธรรมนูญมาแต่เดิม หากแต่อ านาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน
จะใช้ผ่านบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และยังได้แก้ไขให้ฝ่ายตุลาการมีส่วนร่วมในกระบวนการถอดถอน
ประธานาธิบดี โดยให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอ านาจในการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของข้อ
214
กล่าวหาที่มีต่อประธานาธิบดี
ศาลรัฐธรรมนูญจัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 2003 มีหน้าที่ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของรัฐ
บัญญัติ ตัดสินความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานของรัฐ ตัดสินคดียุบพรรคการเมือง และพิจารณาผลการ
215
เลือกตั้งในกรณีที่มีการร้องเรียน องค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสะท้อนการถ่วงดุล
อ านาจจากฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ จากข้อก าหนดที่ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีจ านวน 9 คน
มาจากการเสนอชื่อของประธานาธิบดี 3 คน การเสนอชื่อของสภาผู้แทนราษฎร 3 คน และการเสนอชื่อ
ของประธานศาลฎีกา 3 คน มีวาระการด ารงต าแหน่ง 5 ปี และสามารถด ารงต าแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ
ความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการได้รับการรับรองจากการให้ประธานและรองประธานศาลฎีกาและศาล
รัฐธรรมนูญมาจากการเลือกตั้งภายในผู้พิพาษาและตุลาการของศาลนั้นๆ และมีคณะกรรมาธิการ
216
ตุลาการ ท าหน้าที่ตรวจสอบการละเมิดจริยธรรมโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายตุลาการ หากแต่เมื่อพบการละเมิด
แล้ว คณะกรรมาธิการท าได้เพียงส่งเรื่องไปยังศาลฎีกาเพื่อขอให้มีมาตรการลงโทษเท่านั้น สมาชิก
คณะกรรมาธิการได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีด้วยการเลือกของสภาผู้แทนราษฎรจากรายชื่อที่
คณะกรรมาธิการเป็นผู้เสนอ
บทบาทการถ่วงดุลฝ่ายตุลาการของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติยังปรากฏในกระบวนการ
สรรหาผู้พิพากษาศาลฎีกาด้วย โดยผู้สมัครเข้ารับคัดเลือกเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาไม่จ าเป็นต้องด ารง
214 Ibid., pp. 199-200.
215 Nadirsyah Hosen, ‚Promoting Democracy and Finding the Right Direction: A review of major constitutional development
in Indonesia,‛ in Albert Chen (ed.), Constitutionalism in Asia in the Early Twenty-First Century (Cambridge: Cambridge
University Press, 2014), p. 328.
216 Denny Indrayana, op. cit., p. 202.