Page 184 - kpiebook65010
P. 184
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
เงื่อนไขบางข้อหรือทุกข้อแล้ว ซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกับการทำ RIA ภายใต้แนวทางของ EU
ที่จะต้องพิจารณาหลักการวิเคราะห์อย่างได้สัดส่วน (principle of proportionate analysis)
เสมอดังที่ได้กล่าวไปแล้วในบทก่อนนั่นเอง
โดยแรกเริ่มนั้นมีการกำหนดเงื่อนไขเชิงคุณภาพที่ต้องพิจารณา 18 ข้อ
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเป็น 22 ข้อ โดยแต่ละข้ออาจจะเกี่ยวข้องกับ
การพิจารณาคำถาม 7 ข้อ ในทุกข้อหรือบางข้อก็ได้ โดยสรุปเงื่อนไขดังกล่าวในตารางต่อไปนี้ 283
ลำดับ เงื่อนไข ข้อของคำถามที่ต้องพิจารณา
1 แนวทางด้านการให้หน่วยงานรัฐดำเนินกิจการเชิงพาณิชย์ 4 5 6 7
2 กรอบข้อตกลงในการมอบอำนาจทางปกครอง 6
3 แนวทางในการตรากฎหมาย พิจารณาทั้ง 7 ข้อ
4 กรอบดำเนินการด้านการให้การสนับสนุนทางการเงิน (granting) โดยภาครัฐ 6
5 การวิเคราะห์เครื่องมือ Social Cost-Benefit Analysis ในภาคธุรกิจ (SME) 5 6 7
6 ผลกระทบต่อภาคธุรกิจ (รวมถึงผลกระทบจากภาระการปฏิบัติการตามกฎหมาย) 2 4 5 6 7
7 กรอบและทิศทางในการดำเนินนโยบายร่วมของรัฐบาลในแต่ละระดับ 2 6 7
8 กรอบการตัดสินใจของรัฐเกี่ยวกับการแปรสภาพองค์กรไปเป็นองค์กรเอกชน 5 6
9 ความสอดคล้องกับนโยบายสาธารณะ 6
10 ความสามารถในการกำหนดเจตจำนงและการลงมือทำ (ของประชาชน) 2 3 4 6 7
11 ผลต่อความเท่าเทียมทางเพศ 7
12 ผลต่อประเทศกำลังพัฒนา 4 7
13 ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตบริเวณพรมแดน 2 7
14 ระดับของการยอมรับความเห็นที่แตกต่าง 6
15 มาตรฐานปฏิบัติเกี่ยวกับการวัด อธิบายและป้องกันไม่ให้เกิดภาระจากการปฏิบัติตาม 2 5 6 7
กฎหมายของภาคธุรกิจและประชาชน
16 แนวทางการร่างกฎหมายตามรายงาน “Worth a try”- Final Report of the 6
Interdepartmental Legislative Council on Experimental Provisions
283 Knowledge Center Legislation and Legal Affairs, ‘Mandatory quality requirements’ <www.
kcwj.nl/kennisbank/integraal-afwegingskader-beleid-en-regelgeving/verplichte-kwaliteitseisen> เข้าถึงเมื่อ
9 กันยายน 2564.
สถาบันพระปกเกล้า
172