Page 198 - kpiebook65010
P. 198

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียกับกฎระเบียบเรื่องนั้นตั้งแต่ในชั้นริเริ่มจัดทำนโยบายไปจนตลอดช่วงที่นโยบาย
               มีผลบังคับใช้ และควรมีการประเมินประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของระบบการรับฟังความคิดเห็น

               นั้นตลอดเวลา ซึ่งความคาดหวังของรัฐบาลที่จะสร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการออกกฎระเบียบนั้น
               รวมไปถึงการที่หน่วยงานที่ออกกฎจะต้องตรวจสอบประสิทธิภาพของกฎระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เพื่อ

               ประเมินว่ายังมีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้ว ไม่ได้มีการตรวจสอบ
               ประเมินกฎระเบียบภายหลังจากที่ใช้บังคับเท่าที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ ยังได้มีการเพิ่มเติม
               กฎเกณฑ์ว่าด้วยการจัดทำ Supplementary Analysis Report (SAR) ในกรณีที่มีการเห็นชอบกับ

               ข้อเสนอเพื่อออกกฎระเบียบที่ไม่ได้มีการจัดทำ RIA มาด้วย หรือ RIA ที่ทำยังไม่ได้รับการประเมิน
               เพื่อรับรองคุณภาพ หรือมีการประเมินแล้วแต่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพอีกด้วย


                      หลักการว่าด้วย Regulatory stewardship คือหลักที่กล่าวถึงความรับผิดชอบของ
               หน่วยงานรัฐบาลที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎระเบียบ โดยหลักการนี้บังคับให้หน่วยงานของ
               รัฐออกกฎระเบียบที่ครอบคลุมทั้งระบบ รวมทั้งมีวิธีการทำงานในเชิงรุกโดยอาศัยความร่วมมือจาก

               ทุกฝ่ายในการตรวจสอบและใช้ความระมัดระวังเพื่อจัดการระบบการออกกฎระเบียบซึ่งหน่วยงาน
               นั้นมีความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายหรือการดำเนินการ เพื่อให้กฎระเบียบนั้นตอบสนอง

               กับสถานการณ์ในช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ 294

                      ภายใต้บังคับของกฎหมาย Public Service Act 2020 กำหนดให้ผู้บริหารสูงสุดหรือ
               คณะกรรมการที่ดูแลหน่วยงานซึ่งเป็นผู้ให้บริการสาธารณะ เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลให้

               หน่วยงานของตนปฏิบัติการให้เป็นไปตามหลักการบริการสาธารณะ 5 ประการ ซึ่งหลัก
               “Stewardship” เป็นหนึ่งในหลักการ 5 ประการ โดยในมาตรา 12 ของ Public Service Act

               2020 หลัก Stewardship มีสาระสำคัญคือ การที่หน่วยงานของรัฐต้องมุ่งเน้นการทำหน้าที่ผู้ให้
               บริการสาธารณะอย่างมีความรับผิดชอบ โดยให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของหน่วยงานในเรื่อง
               ต่อไปนี้


                      1) ความสามารถในระยะยาวและบุคลากรภายในหน่วยงาน

                      2) ความรู้และข้อมูลเชิงสถาบันของหน่วยงาน

                      3) ระบบและกระบวนการขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน

                      4) ทรัพย์สินของหน่วยงาน


                    294   Treasury of New Zealand, ‘Regulatory stewardship’ <www.treasury.govt.nz/information-

               and-services/regulation/regulatory-stewardship> เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2564.

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     186
   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203