Page 199 - kpiebook65010
P. 199
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
5) กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน
ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมหลัก regulatory stewardship ภายใน
หน่วยงานของรัฐบาล โดยหน่วยงานมีหน้าที่รับผิดชอบที่จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
1) ตรวจสอบ ทบทวน และจัดทำรายงานเกี่ยวกับระบบการออกกฎระเบียบ
2) ทำการวิเคราะห์อย่างจริงจัง และปรับใช้มาตรการเพื่อสนับสนุนให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
เกี่ยวกับระบบการออกกฎระเบียบ
3) มีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกฎระเบียบที่ดี
หน่วยงานภายในกระทรวงการคลังที่เรียกชื่อว่า Regulatory Quality Team ทำหน้าที่
เป็นผู้กำกับดูแลระบบการจัดทำ RIA โดยการควบคุมคุณภาพของเครื่องมือที่นำมาใช้เพื่อบริหาร
จัดการเกี่ยวกับการออกกฎระเบียบ และการปรับปรุงพัฒนาการออกกฎระเบียบอย่างเป็นระบบ
และยังมีคณะกรรมการที่เรียกว่า Legislation Design and Advisory Committee กับ
Parliamentary Counsel Office ที่รับผิดชอบงานด้านการให้คำปรึกษา แนะนำ และประเมิน
คุณภาพในทางกฎหมายของกฎระเบียบเหล่านั้น สุดท้ายคือ หน่วยงานที่ชื่อว่า New Zealand
Productivity Commission ซึ่งทำหน้าที่เป็นองค์กรวิจัยและให้คำปรึกษาที่เป็นอิสระ รับผิดชอบ
ในการระบบการออกกฎระเบียบทั้งหมดรวมถึงประสิทธิภาพในการนำไปใช้จริงของระบบนั้น 295
4.4.2 ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบในภาพรวม
ใน Cabinet Office Circular ว่าด้วยเงื่อนไขในการจัดทำรายงานผลกระทบ
296
ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขและวิธีการที่หน่วยงานจะต้องจัดทำรายงานผลกระทบ
ประกอบมากับข้อเสนอที่เป็นการออกกฎระเบียบใด ๆ ซึ่งขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้
อาจแยกออกได้เป็นลำดับ ดังนี้ 297
1) การพัฒนาข้อเสนอว่าด้วยการออกกฎระเบียบ
295 ibid.
296 Cabinet Office, ‘CO (20) 2: Impact Analysis Requirements’ <https://dpmc.govt.nz/
publications/co-20-2-impact-analysis-requirements > เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2564.
297 Treasury of New Zealand, ‘Guide to Cabinet’s Impact Analysis Requirements’ (New
Zealand Government 2020) 6-7.
สถาบันพระปกเกล้า
187