Page 246 - kpiebook65010
P. 246

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 รวมถึงแนวทางใน RIA
               Guidelines และ RIA Handbook ด้วย


                      5.2.2.2.  การวิเคราะห์ทางเลือก

                            รายงานฉบับนี้ได้กล่าวถึงสภาพปัญหาอันเป็นที่มาของการเสนอร่างกฎหมาย

               ไว้อย่างชัดเจน คือ การที่ “ผู้รับทุนหรือนักวิจัยไม่สามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้
               ด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมายและระเบียบของหน่วยงานให้ทุนของรัฐ กล่าวคือ กฎหมายและระเบียบ
               ของหน่วยงานให้ทุนของรัฐส่วนใหญ่ระบุให้ผู้ให้ทุนเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม หรือ

               ผู้ให้ทุนเป็นเจ้าของร่วมกับผู้รับทุน ซึ่งหากมีผู้ต้องการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
               จะต้องมาขออนุญาตในการใช้สิทธิ โดยจะต้องทำเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing

               Agreement) ซึ่งมีขั้นตอนขอความยินยอมจากผู้เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมทุกฝ่าย และ
               การเจรจาต่อรองค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิซึ่งใช้ระยะเวลานาน จึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้ผลงานวิจัย
               และนวัตกรรมที่ผู้ให้ทุนถือครองความเป็นเจ้าของไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ งบประมาณ

               ที่รัฐลงทุนด้านการวิจัยและนวัตกรรมจึงไม่ก่อผลในเชิงเศรษฐกิจได้อย่างที่ควรจะเป็น การแก้ไข
               อุปสรรคข้างต้น สามารถดำเนินการได้โดยการออกกฎหมายเพื่อกำหนดให้ผลงานวิจัยและ

               นวัตกรรมเป็นของผู้รับทุน ซึ่งกฎหมายจะใช้บังคับกับหน่วยงานให้ทุนของรัฐที่ให้ทุนเพื่อการวิจัย
               และนวัตกรรมจากเงินงบประมาณแผ่นดิน”


                            โดยในการกล่าวถึงมาตรการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น ในหัวข้อ 3.1 ได้ระบุว่า
               “ปัจจุบันหน่วยงานให้ทุนในระบบวิจัยและนวัตกรรมมีกฎและระเบียบเรื่องการเป็นเจ้าของผลงาน
               วิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากการให้ทุนแตกต่างกันไป กล่าวคือ หน่วยงานให้ทุนบางแห่งเป็น

               เจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมแต่เพียงผู้เดียว บางแห่งให้ผู้รับทุนเป็นเจ้าของร่วม ซึ่งทำให้เกิด
               ความลักลั่นในทางปฏิบัติสำหรับผู้รับทุนและผู้ต้องการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

               เช่น เมื่อผู้รับทุนหรือผู้ต้องการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นภาคเอกชนมาขอทำ
               สัญญาโอนสิทธิความเป็นเจ้าของหรือขอทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยและนวัตกรรม
               หน่วยงานให้ทุนบางแห่งสามารถทำสัญญาให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้ บางแห่งทำได้

               เพียงสัญญาให้ผู้รับทุนหรือผู้ใช้ประโยชน์เป็นผู้บริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรม และ
               บางแห่งมีแนวปฏิบัติที่ยุ่งยากและซับซ้อนโดยต้องทำหนังสือขอความเห็นไปยังสำนักงานอัยการ

               สูงสุดเพื่อพิจารณาร่างสัญญาและการอนุญาตให้ใช้สิทธิซึ่งทำให้เกิดความล่าช้า ไม่ทันต่อ
               การเปลี่ยนแปลงในการดำเนินธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม”



                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     234
   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251