Page 249 - kpiebook65010
P. 249
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
(1) “หัวข้อที่ 6 ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
6.1 กฎหมายนี้จำกัดสิทธิหรือเสรีภาพ หรือก่อให้เกิดหน้าที่หรือภาระ
อะไรแก่ใครบ้าง
กฎหมายฉบับนี้กำหนดสิทธิและหน้าที่แก่ผู้ให้ทุน ผู้รับทุน เจ้าของ
ผลงานวิจัยและนวัตกรรม และผู้รับโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรม
ซึ่งจะเป็นกลไกในการสร้างความสมดุลของการให้สิทธิประโยชน์และ
แรงจูงใจ คือการให้ความเป็นเจ้าของ และกำหนดหน้าที่และ
ความรับผิดชอบแก่ผู้ได้รับความเป็นเจ้าของไว้อีกทางด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ รวมถึงหน้าที่ของคณะกรรมการ (คณะกรรมการส่งเสริม
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) และสภานโยบายการ
อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อเป็นกลไก
ในการกำกับ ดูแล และพิจารณาตัดสินกรณีมีการยื่นคำร้อง และ
เพื่อให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประสิทธิผล
สูงสุด ทั้งนี้รวมถึงสร้างให้เกิดแนวปฏิบัติที่เป็นทิศทางเดียวกันใน
ระบบการให้ทุน...”
(2) “หัวข้อที่ 8. ผลกระทบโดยรวมที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
8.1 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
- การให้สิทธิความเป็นเจ้าของในผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปยังผู้รับทุน
จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการผลงานวิจัยและ
นวัตกรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ดังนี้
- ทำให้เกิดโอกาสในการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังภาคเอกชนเพื่อการใช้
ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณประโยชน์เพิ่มมากขึ้น
- ส่งเสริมให้เกิดบริษัทธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่แยกตัวออกจาก
มหาวิทยาลัยและมีนักวิจัยเข้าร่วม (Spin-off) และบริษัทนวัตกรรม
จัดตั้งใหม่ (Startup) เพิ่มมากขึ้น
- เกิดการต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มี
มูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์สูง
สถาบันพระปกเกล้า
237