Page 247 - kpiebook65010
P. 247

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                            จากเนื้อความข้างต้น จะเห็นได้ว่า หน่วยงานได้แสดงให้เห็นถึง “ทางเลือก
               ที่ประสงค์จะนำมาใช้” คือ การออกกฎหมายเฉพาะเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและ

               นวัตกรรมโดยตรง และได้แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หรืออาจเรียกว่าเป็น
               “ทางเลือกในการไม่ทำอะไรเลย” คือ การคงสถานะปัจจุบันไว้ (status quo) ซึ่งได้แก่การให้

               หน่วยงานมีดุลพินิจในการจัดการโดยอาศัยกฎหมายและข้อตกลงในสัญญาที่มีอยู่ โดยได้แสดงถึง
               ข้อจำกัดของทางเลือกนี้เอาไว้ด้วย อย่างไรก็ตาม การอธิบายในหัวข้อนี้ยังไม่ได้ดำเนินการ
               ให้สอดคล้องกับคำแนะนำใน RIA Handbook อีกประการหนึ่ง นั่นคือ “ควรอธิบายด้วยว่า

               การแก้ปัญหาด้วยมาตรการทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่การตรากฎหมายได้ผลอย่างไร และมีอุปสรรคหรือ
               ข้อจากัดอย่างไรบ้าง” เช่น รัฐบาลอาจเลือกใช้แนวทางการกำหนดมาตรฐานของข้อสัญญา

               ที่ใช้สำหรับงานวิจัยและนวัตกรรมจากงบประมาณของรัฐให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปรับใช้ให้
               เป็นไปในลักษณะเดียวกันทั้งหมดได้โดยไม่ต้องออกกฎหมายก็ได้ เป็นต้น

                            กล่าวโดยสรุป การกำหนดทางเลือกในมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ

               เรื่องนี้นั้น อาจกำหนดได้เป็น 3 ประการ ได้แก่

                               (1) ทางเลือกที่ 1 ไม่ทำอะไรเลย ปล่อยให้หน่วยงานใช้ดุลพินิจจัดการปัญหา

                                  ไปตามกฎหมายที่มีอยู่และระบบของสัญญา

                               (2) ทางเลือกที่ 2 รัฐบาลกำหนดข้อสัญญามาตรฐานที่ใช้สำหรับงานวิจัยและ

                                  นวัตกรรมจากงบประมาณของรัฐให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปรับใช้ให้
                                  เป็นไปในลักษณะเดียวกันทั้งหมดได้โดยบริหารจัดการอุปสรรคที่ถูกอ้างว่า
                                  มีอยู่ (เช่น ความยุ่งยากในการประสานงานกับอัยการ)


                               (3) ทางเลือกที่ 3 ออกกฎหมายเฉพาะเรื่องเพื่อใช้กับงานวิจัยและนวัตกรรม
                                  จากงบประมาณของรัฐ


                            ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า การเพิ่มทางเลือกที่ 2 เข้ามานั้น อาจทำให้ความจำเป็น
               ของทางเลือกที่ 3 ซึ่งเป็นทางเลือกที่หน่วยงานประสงค์จะนำมาใช้ลดน้อยลงไป เนื่องจากหาก
               รัฐบาลสามารถควบคุมเนื้อหาของข้อตกลงในสัญญาประเด็นนี้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้แล้ว

               คู่สัญญาย่อมสามารถอาศัยสิทธิในสัญญาบังคับกันได้ตามกฎหมาย จึงเป็นการลดต้นทุนในส่วนของ
               การจัดให้มีกฎหมายและองค์กรตามกฎหมายที่จัดตั้งขึ้นใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม การบังคับโดยอาศัย

               สัญญาอาจมีข้อจำกัดในแง่ที่การบังคับนั้นสามารถทำได้โดยอาศัยแต่เพียงข้อสัญญาเท่านั้น แต่หาก

               สิทธิที่พิพาทกันนั้น มีความเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญาโดยตรงแล้ว อาจมี

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     235
   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252