Page 244 - kpiebook65010
P. 244

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               ซึ่งปรากฏว่ารายงานฉบับนี้ไม่ได้กล่าวถึงต้นทุนหรือผลตอบแทนที่เป็นจำนวนเงินให้เห็นแม้แต่น้อย
               ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องซึ่งการคำนวณสามารถทำได้ไม่ยากนัก เช่น การประมาณการต้นทุนใน

               การบริหารจัดการจากการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ ซึ่งหน่วยงานของรัฐย่อมมีตัวอย่างของการจัดตั้ง
               หน่วยงานในลักษณะที่คล้ายคลึงกันเป็นต้นแบบในการกะประมาณต้นทุนอยู่แล้ว หรือการหา

               จำนวนของค่าธรรมเนียมที่จะได้รับในช่วงเวลาต่าง ๆ หลังจากการประกาศใช้กฎหมาย
               โดยพิจารณาจากข้อมูลของจำนวนผู้ประกอบอาชีพหรือผู้ที่กำลังศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้อง
               ในปัจจุบันและเทียบสัดส่วนว่าบุคคลเหล่านั้นจะขอใบอนุญาตเป็นจำนวนเท่าใด เป็นต้น หรือ

               ในเรื่องที่การคำนวณผลกระทบเป็นตัวเงินอาจทำได้ยาก เช่น มูลค่าของความภาคภูมิใจใน
               การปฏิบัติหน้าที่ ความรู้สึกของประชาชนอันเกิดจากความเชื่อมั่นในการออกกำลังกายหรือ

               การตัดสินที่ได้มาตรฐาน เป็นต้น ซึ่งการไม่ปรากฏถึงความพยายามในการกำหนดปริมาณของ
               ผลกระทบเหล่านี้เลย ย่อมเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นในตัวว่า รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิด
               ขึ้นจากการออกกฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้ทำขึ้นโดยรายละเอียดที่ครบถ้วนเพียงพอ


                            นอกจากนี้ การกำหนดปริมาณผลกระทบที่สะท้อนต้นทุนและผลประโยชน์
               ของการออกกฎหมายที่แท้จริงนั้น ยังจะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่สามารถแสดงให้เห็นถึงมูลค่าที่แท้จริง

               ในแต่ละช่วงเวลาด้วย วิธีการที่ควรนำมาใช้ประกอบ คือ การกำหนดกรอบเวลาในการปรับใช้
               มาตรการ การคิดต้นทุนและผลตอบแทนโดยนำเอาปัจจัยในเรื่องของเงินเฟ้อมาคำนวณประกอบ
               การนำเอาอัตราของส่วนลดค่า (Discount) มาคำนวณ หรือการพิจารณาถึงสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

               ซึ่งอาจส่งผลต่อต้นทุนและผลตอบแทนที่เกี่ยวกับกฎหมาย เช่น ในอนาคตอาจเกิดสถานการณ์
               สงครามหรือโรคระบาดที่ส่งผลให้การแข่งขันกีฬาไม่สามารถทำได้ ซึ่งจะทำให้ผู้คนสนใจที่จะ

               ประกอบอาชีพนี้น้อยลง ผลตอบแทนจากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตก็จะน้อยลงตามไปด้วย เป็นต้น
               การมีข้อมูลในลักษณะนี้อยู่ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายนั้น แม้จะดูเป็นภาระ
               แก่ผู้จัดทำกฎหมายอย่างมาก แต่ก็เป็นเครื่องยืนยันว่าผู้เสนอกฎหมายได้พิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

               มาอย่างรอบด้านแล้วนั่นเอง

                      5.2.1.4.  ข้อสังเกตส่งท้าย


                            ตัวอย่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการออกกฎหมาย
               ฉบับนี้ มีข้อที่น่าสนใจ คือ การกล่าวถึงทางเลือกอื่น ๆ นอกจากทางเลือกที่เป็นการออกกฎหมาย

               ซึ่งหน่วยงานประสงค์จะนำมาใช้ด้วย อย่างไรก็ตาม การประเมินผลกระทบในส่วนอื่น ๆ นั้น
               ยังไม่ได้ทำอย่างรอบคอบเพียงพอ เนื่องจากความโน้มเอียงต่อข้อเสนอในทางกฎหมายซึ่งทำให้

               มองข้ามผลกระทบในทางลบไปหลายประการ และในส่วนของผลกระทบในทางบวกที่ผู้เสนอ

                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     232
   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249